Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2944
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าสหกรณ์ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนิคมฯ ลำน้ำน่าน จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Factors affecting consumers' buying behavior of products from Nikom Lamnam Nan Agricultural Cooperative, Limited, Uttaradit Province |
Authors: | ส่งเสริม หอมกลิ่น สุเทพ ช่วยอุระชน, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรนิคมฯ ลำน้ำน่าน--สมาชิก การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ การซื้อสินค้า สหกรณ์การเกษตร |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของสมาชิกสหกรณ์ในการซื้อสินค้า ของสหกรณ์ 2) ระดับความสำคัญ ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าของสหกรณ์ 3)ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของสมาชิกที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของสหกรณ์ 4) ความสัม พันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของสหกรณ์ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกที่ซื้อสินค้าของสหกรณ์การเกษตรนิคมฯ ลำน้ำน่าน จำกัด จำนวน 288 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัว อย่าง 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี การศึกษาระดับ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่าระยะเวลาการเป็นสมาชิก 5 - 10 ปี รายได้ของครัวเรือนต่อเดือนไม่เกิน 4,000 บาท พื้นที่ทการเกษตร 6-25 ไร่ การซื้อสินค้าของสหกรณ์ส่วนใหญ่ซื้อพันธุ์สัต ว์/อาหารสัตว์ ปุ๋ย พันธุ์พืช และเคมีการเกษตร ตามลำดับ ความถี่ในการซื้อสินค้าสหกรณ์ต่อปี ต่ำกว่า 5 ครั้ง และปริมาณซื้อต่ำกว่า 1,000 บาทต่อ ครั้ง 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าสหกรณ์โดยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับความสำคัญตามลำดับ ดังนี้ ด้านการบริการคุณภาพสินค้า และการประชาสัมพีนธ์ของสหกรณ์ ความสัมพันธ์ด้านประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า เพศ อายุ และรายได้ของครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับตราสิน้ค้ (ยี่ห้อ) ของสินค้าที่จัดหามาจำหน่ายที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 รายได้ของครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับชนิดของสินค้า สหกรณ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และพื้นที่ในการทำการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์กับการบริการของสหกรณ์ที่ระดับนะยสำคัญ 0.05 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านประชาการศาสตร์ของสมาชิกที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของสหกรณ์ พบว่าพื้นที่ในการทำการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และด้านชนิดสินค้าที่ซื้อ ได้แก่ ปุ๋ย เพศ และระยะเวลาการเป็นสมาชิก มีความสัม พันธ์กับการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ด้านชนิดสินค้า ที่ซื้อ ได้แก่ ปุ๋ย และเคมีการเกษตร ที่ระดับนัยสำ คัญ 0.05 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของสหกรณ์พบว่า คุณภาพสินค้า ชนิดของสินค้าสหกรณ์ และราคาของสินค้า มีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค้า ด้านปริมาณที่ซื้อสินค้าต่อปีที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และคุณภาพสินค้า และชนิดของสินค้าสหกรณ์มีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค้าสหกรณ์ด้านชนิดสินค้า ที่ซื้อที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ เคมีการเกษตร และปุ๋ย และราคาของสินค้า และบรรจุภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อสินค้าต่อปี และบรรจุภัณฑ์หับห่อสินค้า มีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค่า ปริมาณที่ซื้อสินค้าต่อปีที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2944 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_140799.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License