กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2958
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านหมอ จำกัด จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influence of the behavior of member, the Ban Mour Agriculture Cooperative Ltd. Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิมส์ทิพย์ จันทร์ดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การกู้ยืมส่วนบุคคล
การกู้ยืม
สหกรณ์การเกษตร--สมาชิก
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของการให้เงินกู้ ของสหกรณ์ (2) พฤติกรรมการใช้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านหมอ จำกัด จังหวัดสระบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือสมาชิกสหกรณ์ที่กู้ยืมเงินจำนวน 422 ราย และ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 145 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การให้เงินกู้แก่สมาชิกของสหกรณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เงินกู้ระยะสั้น และเงินกู้ระยะปานกลาง โดยเงินกู้ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะปานกลาง เป็นเงิน 14,535,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 64.37 มีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร ซื้อรถไถนา และ ซื้อเครื่องจักรกล (2) สมาชิกมีพฤติกรรมการใช้เงินกู้ที่กำหนดตามวัตถุประสงค์การขอกู้ มีสมาชิก สหกรณ์ที่ชำระหนี้คืนได้ตามกำหนด จำนวน 80 ราย โดยส่วนใหญ่มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตผล ทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 71.03 และสมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้ตามกำหนด จำนวน 65 ราย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากประสบภัยธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 55.17 รองลงมาเป็นราคาผลผลิตตกต่ำ คิดเป็นร้อยละ 33.10 (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์การขอกู้ ประกอบด้วยเงินกู้ระยะสั้นพบว่าเพศ และสภาพความเป็นหนี้ มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เงินกู้ของ สมาชิกตามวัตถุประสงค์การขอกู้เงินระยะสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเงินกู้ระยะ ปานกลางพบว่าเพศ จำนวนบุคลากรในครอบครัว แรงงานในครัวเรือน พื้นที่ทำการเกษตร รายจ่าย ในครัวเรือน รายจ่ายจากค่ารักษาพยาบาล รายจ่ายในการชำระคืนเงินกู้อื่น และสภาพ ความเป็นหนี้ มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เงินกู้ของสมาชิกตามวัตถุประสงค์การขอกู้เงินระยะปานกลางอย่าง มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2958
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128860.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons