กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/295
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย : กรณีศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information culture of Thai television stations : cases of the National Broadcasting Services of Thailand and Thai Public Broadcasting Service
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรัชญ์ ครุจิต
กษิติธร ภูภราดัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วัฒนธรรมองค์การ--ไทย
สถานีโทรทัศน์--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในประเทศไทย (2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในประเทศไทย และ (4) พัฒนากรอบวัฒนธรรมสารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 233 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามโครงสร้างองค์กรจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะจำนวน 2 แห่ง คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จำนวน 114 คน และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในประเทศไทย เป็นวัฒนธรรมสารสนเทศแบบเป็นทางการที่มีการใช้สารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศภายในองค์กรมากกว่าภายนอกองค์กร มีวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการที่เน้นความเป็นระเบียบแบบแผนยึดกฎระเบียบเคร่งครัด (2) วัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในประเทศไทยมีความเหมือนกับวัฒนธรรมสารสนเทศ ของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในต่างประเทศคือเป็นวัฒนธรรมสารสนเทศแบบเป็นทางการ มีการใช้สารสนเทศตามผังรายการและมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการสารสนเทศ และมีความแตกต่างกันคือ ในต่างประเทศมีนโยบายด้านสารสนเทศ และข้อกำหนดด้านมาตรฐานการจัดการสารสนเทศและมาตรฐานการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศทางโทรทัศน์ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์ เพื่อสาธารณะ ได้แก่ นโยบายและโครงสร้างองค์กร ประสบการณ์ของบุคลากร ความทันสมัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ และความตระหนักในจริยธรรมวิชาชีพ และ (4) กรอบวัฒนธรรมสารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะในประเทศไทย ประกอบด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และวัฒนธรรมสารสนเทศแบบนวัตกรรมที่มีสภาพแวดล้อมแบบเปิด พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/295
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153041.pdf้เอกสารฉบับเต็ม8.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons