กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/296
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกษตรพันธสัญญาของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพื่อรองรับการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comparative study of contract farming law in Thailand and Lao people's democratic republic for a preparation for the agricultural trade in ASEAN Economic Community - AEC |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล สุรินรัตน์ แก้วทอง, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิมาน กฤติพลวิมาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรพันธสัญญา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สินค้าเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกษตรพันธสัญญาของประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อรองรับการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเกษตรพันธสัญญาของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ควบคู่กับการวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรพันธสัญญาซึ่งจัดทำโดย UNIDROIT เพื่อวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการรองรับการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีกระบวนการ ค้นคว้าวิจัยจากแหล่งข้อมูลเอกสารต่างๆ อาทิ ตำรา บทความทางวิชาการ ความเห็นของนักกฎหมายทั้งใน ประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะในรูปแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่าเกษตรพันธสัญญาของทั้งสองประเทศเป็นการทำสัญญา ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรมีอำนาจในการต่อรองในการทำสัญญา(Bargaining Power) มากกว่าเกษตรกร ทำให้ทั้งสองประเทศ พบปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรในรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังไม่มีกฎหมาย หรือมาตรการโดยเฉพาะที่ช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับเกษตร รวมถึงการขาดคณะกรรมการเฉพาะด้านการเกษตร ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมและตรวจสอบ รวมถึงการกำหนดนโยบายด้านการทำเกษตรพันธสัญญา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่มือทางกฎหมายในการทำเกษตรพันธสัญญา UNIDROIT พบว่าคู่มือฉบับนี้ช่วยลดปัญหาความ ไม่เท่าเทียมหรือการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการต่อเกษตรกรได้ในหลายแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น จากการศึกษาวิเคราะห์ผู้เขียนจึงเสนอให้จัดทำพระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา เพื่อจัดตั้งกรมเกษตรพันธสัญญา สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการเฉพาะด้านเกษตรพันธสัญญา ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านเกษตรพันธสัญญาโดยเฉพาะสำหรับการส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมดูแลการทำเกษตรพันธสัญญารวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่เป็นการผลักดันเกษตรพันธสัญญา ที่เป็นธรรมและเพิ่มอำนาจต่อรอง ให้กับเกษตรกรรวมไปถึงการผลักดันให้มีกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เข้ามาควบคุมการทำเกษตรพันธสัญญาในระดับภูมิภาคอาเซียนด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/296 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib152359.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License