Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/297
Title: | ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ของเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยาว จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ของเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยาว จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา พัชราพร เกิดมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา ไพรรัตน์ อินทมงคล, 2514- |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ เบาหวาน--ผู้ป่วย--การดูแล |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ต่อระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการสุขภาพที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยาว และมีระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะจากปลายนิ้วสูงกว่า 160 มก/ดล ติดต่อกัน 4 เดือน จำนวน 10 ราย เครื่ องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ระยะที่ 1 กิจกรรมการเรียนรู้รายกลุ่ม ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า 1 วัน กับ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี โรคเรื้อรัง โภชนากร นักกายภาพบำบัด และ แพทย์ ระยะที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รายบุคคล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยาว ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ฐานการเรียนรู้ เรื่อง อาหาร การออก กำลังกาย การจัดการอารมณ์ การใช้ยา และ นาทีชีวิต จำนวน 1 วัน เพื่อให้สามารถจัดการสุขภาพ ตนเองได้อยางเหมาะสม กิจกรรมที่ 2 ประเมินการจัดการตนเองของผู้ป่วย จำนวน 6 ครั้ง ในเวลา 3 เดือน ประกอบด้วยการประเมินระดับน้ำตาลจากปลายนิ้วและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาลวิชาชีพ ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดก่อน และหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือน 2) แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบสมุดบันทึกผู้ป่วยเบาหวาน กระทรวง สาธารณสุข เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์เปรียบเทียบระดับ น้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบวา ระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด หลังการทดลอง (เดือนที่ 3) ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05 respectively) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/297 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License