กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/298
ชื่อเรื่อง: | ค่าทดแทนในเรื่องการหมั้นตามกฎหมายครอบครัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Compensation for damage from engagement according to the Civil and Commercial Code |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน สุวรรณา คณะยอด, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรวุฒิ เทพทอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การหมั้น ค่าทดแทน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ครอบครัว |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องค่าทดแทนในเรื่องการหมั้นตามกฎหมายครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา ของประเพณีการหมั้น ประวัติเกี่ยวกับการหมั้นตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับการหมั้น กฎหมายเกี่ยวกับการหมั้นตั้งแต่อดีต จนถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว หมวด 1 การหมั้น ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน กฎหมายการหมั้นของต่างประเทศทั้งในระบบคอมมอนลอว์ คือ กฎหมายอังกฤษ และอเมริกา และระบบซีวิลลอว์ คือกฎหมายโรมัน เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และไต้หวัน เพื่อวิเคราะห์กฎหมายค่าทดแทนในเรื่องการหมั้นของกฎหมายครอบครัวไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งทำการค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา ที่เกี่ยวข้องบทความทางกฎหมาย ทั้งของไทยและต่างประเทศ คำพิพากษาของศาลฎีกา เว็บไซต์อินเทอร์เน็ต ตลอดจนความเห็นของนักนิติศาสตร์ นำเสนอข้อมูลโดยใช้วิธีเขียนเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าการที่กฎหมายไทยรับรองการหมั้นไว้เป็นสัญญาและให้คู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทน ความเสียหายจากการหมั้นตามความเสียหายที่แท้จริงได้นั้น ถือว่ามีความเหมาะสมกับสภาพของสังคม เพราะได้คุ้มครองการสมรสให้เป็นไปโดยอิสระควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่สูงเกินไปจนต้องยอมสมรสด้วยสภาวะที่จำใจ ซึ่งส่งผลดีมากกว่าประเทศที่ไม่รับรองการหมั้นไว้เป็นสัญญา แม้ว่ากฎหมายการหมั้นของไทยจะมีความเหมาะสม กับสภาพของสังคม แต่ก็ใช่ว่ากฎหมายการหมั้นจะไม่มีความบกพร่องในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหมั้น ซึ่งพบปัญหาสามประการดังนี้ ประการแรก คำว่า “เหตุสำคัญ” ในการบอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 และ มาตรา 1443 มิได้มีความหมายที่ชัดเจนครอบคลุมถึงการการสมรสล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือการเพิกเฉยต่อการสมรส ประการที่สอง การที่บทบัญญัติในมาตรา 1444 จำกัดสิทธิการเรียกค่าทดแทนเฉพาะกรณีที่เป็นการกระทำชั่วอย่าง ร้ายแรงต้องได้กระทำ “ภายหลังการหมั้น” เท่านั้น ทำให้คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากคู่หมั้นฝ่ายที่กระทำชั่วอย่างร้ายแรง หากการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น ได้กระทำ “ก่อนการหมั้น” ประการที่สาม การที่บทบัญญัติในมาตรา 1446 จำกัดขอบเขตการเรียกค่าทดแทนของคู่หมั้นผู้ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งเรียกได้เฉพาะกรณีที่ผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรา “ได้รู้หรือควรจะได้รู้” ถึงการหมั้นเท่านั้น หากผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเรา หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราปฏิเสธว่า “ไม่รู้” ถึงการหมั้นนั้น ก็ทำให้หลุดพ้นจากความรับผิด ซึ่งเป็นปัญหาช่องว่างของกฎหมาย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/298 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib143889.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License