Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2990
Title: การศึกษาการจัดการน้ำนมดิบให้ได้รับมาตรฐาน GMP ของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คประจวบคีรีขันธ์ จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Study on raw milk management to meet GMP standard of Thai-Danish Prachuap Khiri Khan Dairy Cooperative Limited. Prachuap Khiri Khan Province
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
ภูริสิทธิ์ สิริวโรธากุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คประจวบคีรีขันธ์--การจัดการ
ผลิตภัณฑ์นม--มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์นม--การควบคุมคุณภาพ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาการจัดการน้ำนมดิบให้ได้รับมาตรฐาน GMP ของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค ประจวบคีรีขันธ์ จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย หรือแผนส่งเสริมการผลิตน้ำนมดิบคุณภาพดี เปรียบเทียบตามลักษณะฟาร์มและระดับการศึกษา ของสมาชิก (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน GAP ของสมาชิก และ (3) เพื่อรวบรวมปัญหา และ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการน้ำนมดิบของสหกรณ์ให้ได้รับมาตรฐาน GMP ตามหลักการปฏิบัติทาง สุขลักษณะที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนรวม 77 ราย ประกอบด้วย สมาชิก 70 ราย กรรมการ 5 ราย และ พนักงานสหกรณ์ 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใด้ ในการวเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่า เอฟ (F-test) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธิของเชฟเฟ่ (Shefie’s method) ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายหรือแผน สมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุด เรื่องข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติด้านการป้องกันการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะและสารเคมี จากการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายหรือแผนส่งเสริมการผลิตน้ำนมดิบคุณภาพดี พบว่าสมาชิกที่ได้รับมาตรฐาน GAP กับสมาชิกที่ไม่ได้รับมาตรฐาน GAP และสมาชิกที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระลับ 0.05 ส่วนสมาชิกที่มีขนาดฟาร์มต่างกัน มีความเห็นไม่แตกต่างกัน (2) ความคิดเห็น เกี่ยวกับหลักเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน GAP ของสมาธิก โดยภาพรวมสมาชิกมีความคิดเห็นด้วยทั้ง 5 ด้าน โดย การจัดการด้านสุขภาพสัตว์จัคอยู่อันดับแรก การจัดการด้านสิ่งแวดด้อมอยู่อันดับสุดท้าย แสดงถึงสมาชิกใด้ ความสำคัญเรื่องสุขภาพสัตว์มาก (3) การจัดการน้ำนมดิบของสหกรณ์มีปัญหาหลักคือ สถานที่ทั้งเป็นที่ราชพัสดุ อาคารเก่ามีสภาพทรุคโทรม พนักงานขาดความรู้ มาตรฐานการรับซื้อต่ำ และไม่มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ดังนั้นควร วางแผนระยะยาวเพื่อซื้อที่ดินเป็นของสหกรณ์เอง และควรมีหน่วยงานเฉพาะจัดตั้งขึ้นเพื่ออบรมสมาธิกที่เป็น สหกรณ์โคนมอย่างต่อเนื่องจนได้มีการปฏิบัติให้ได้มาตรฐาน GMP
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2990
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119969.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons