Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3004
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์นิคมหลังสวน จำกัด จังหวัดชุมพร
Other Titles: Factors affecting saving behaviors of the members of Langsaun Settlement Cooperatives Limited in Chumphon Province
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน, อาจารย์ที่ปรึกษา
มณฑา ณ พัทลุง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์นิคมหลังสวน จำกัด--สมาชิก
การประหยัดและการออม
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางเศรษฐกิจของ สมาชิกสหกรณ์นิคมหลังสวน จํากัด 2) ระดับความสําคัญของปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของสมาชิกสหกรณ์นิคมหลังสวน จํากัด และ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทาง เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสหกรณ์กับ พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์นิคมหลังสวน จํากัด ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์นิคมหลังสวน จํากัด จํานวน 2,327 คน กำหนด ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 342 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวม ข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุไม่เกิน 40 ปี สถานภาพ สมรส การศึกษาระดับประถมศึกษาขนาดของครัวเรือน จํานวน 4-6 คน วัตถุประสงค์ในการออมเพื่อใช้ ในการศึกษาของบุตร/หลาน รายได้และรายจ่ายต่อปี เฉลี่ย ไม่เกิน 200,000 บาท และจํานวนผู้มีเงินได้ ในครัวเรือน 1-3 คน พฤติกรรมการออมของสมาชิกส่วนใหญ่ออมเงินประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 64.62 ความถี่ในการออม 6 เดือนต่อครั้ง ร้อยละ 54.09 และวงเงินที่ออมเฉลี่ยต่อครั้ง มากกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 78.36 2) ปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมเงินมีระดับความสําคัญในระดับมาก ทุกปัจจัย ที่สูงที่สุด ได้แก่ การมีระบบการให้บริการฝาก/ถอนเงิน เช่นเดียวกับสถาบันการเงินอื่น สถานที่ตั้งเดินทางไปมาสหกรณ์สะดวก และอัตราดอกเบี้ยของสหกรณ์ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรสและขนาดของครัวเรือนมีความสัมพันธ์ กับประเภทการออมปัจจัยทางเศรษฐกิจได้แก่ จํานวนผู้มีเงินได้ในครัวเรือน และปัจจัยด้านสหกรณ์ได้แก่ บริการฝาก/ถอนเงินที่รวดเร็วของสหกรณ์ มีความสัมพันธ์กับประเภทการออม และจํานวนเงินออมเฉลี่ยต่อครั้ง บริการด้านข้อมูลข่าวสาร บริการ ของเจ้าหน้าที่และความซื่อสัตย์และโปร่งใสของกรรมการสัมพันธ์กับประเภทการออม และความถี่ ในการออม ส่วนด้านภาพลักษณ์และความมั่นคงของสหกรณ์สัมพันธ์กับประเภทการออม ความถี่ ในการออมและจํานวนการออมเฉลี่ยต่อครั้ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3004
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149636.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons