Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3008
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภาภรณ์ ศรีดี | th_TH |
dc.contributor.author | อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์, 2551- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-02-02T08:35:11Z | - |
dc.date.available | 2023-02-02T08:35:11Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3008 | en_US |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน เกี่ยวกับ 1) สภาพปัญหาการรณรงค์ 2) รูปแบบการรณรงค์ 3) การใช้สื่อและกิจกรรม 4) การใช้สาร และ 5) กลยุทธ์การรณรงค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสาร ได้แก่ เนื้อหาจากรายงานประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2560 สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ และกิจกรรมการรณรงค์ด้านการป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง รวมจำนวน 30 คน จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน ผู้ปฏิบัติงาน 1 คน นักคิดสร้างสรรค์ 4 คน และเยาวชนที่เปิดรับสื่อ หรือเข้าร่วมกิจกรรมของสํานักงาน ป.ป.ช. จำนวน 23 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบวิเคราะห์เอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการศีกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการรณรงค์ คือ เยาวชนขาดความเข้าใจและขาดความเชื่อมั่นในบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. การนำเสนอเนื้อหาสารมีการนำเสนอภาพในหลากหลายรูปแบบ แต่การใช้ภาษาเป็นภาษากฏหมายที่ยากเกินไปสําหรับเยาวชน 2) รูปแบบการรณรงค์มีทั้งการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 3) การใช้สื่อและกิจกรรม มีทั้งสื่อที่ควบคุมได้ และสื่อที่ควบคุมไม่ได้ สื่อส่วนใหญ่ที่นำเสนอเน้นไปที่สื่อที่ควบคุมได้ รวมถึงการใช้กิจกรรมที่หลากหลายประเภท 4) การใช้สาร มีการเล่าเรื่องมีทั้งแบบสัมภาษณ์ และการเล่าเรื่องแบบใกล้ตัวของผู้รับสาร การใช้ภาพเพื่อรณรงค์มีลักษณะเป็นภาพข่าวประชาสัมพันธ์การนําเสนอด้วยภาพวิดีโอ การนําสื่ออินโฟกราฟิก และโมชันกราฟิก ส่วนระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ป้องกันการทุจริตในกลุ่มเยาวชน มีการใช้ภาษา 2 ระดับภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาถึงทางการ และภาษาแบบสนทนา 5) กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน มีทั้งสิ้น 4 กลยุทธ์ ดังนี้ (1) กลยุทธ์ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมโดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้เยาวชนและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม (2) กลยุทธ์การใช้ผู้ทรงอิทธิพลในสื่อออนไลน์เข้ามาช่วยในการรณรงค์โดยสื่อสารโน้มน้าวใจในประเด็นการทุจริตเป็นเรื่องใกล้ตัวของเยาวชน (3) กลยุทธ์การสร้างสารเพื่อการรณรงค์มุ่งนำเสนอเนื้อหาสารที่เน้นด้านดีเพียงด้านเดียว และนำเสนอสารที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของเยาวชน (4) กลยุทธ์การถ่ายทอดนวัตกรรม มีการจัดทำมิวสิควิดีโอ การจัดทำคลิปสัมภาษณ์การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายสื่อ และการจัดทําแอปพลิเคชั่น ตลอดจนการจัดทําเกมออนไลน์ที่มุ่งสอนเรื่องการป้องกันการทุจริตให้กับกลุ่มเป้าหมายเยาวชน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบ--การประชาสัมพันธ์ | th_TH |
dc.title | กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน | th_TH |
dc.title.alternative | Campaign strategies of the Office of the National Anti-Corruption Commission to prevent corruption targeting youth | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study communication to prevent problems of corruption in the Office of the National Anti-Corruption Commission (NACC)’s campaigns aimed at youth, in terms of: 1) difficulties with the campaigns; 2) patterns of the campaigns; 3) use of media and activities; 4) use of messages; and 5) campaign strategies. This was a qualitative research using in-depth interviews and documents research, comprising the NACC’s annual reports from 2007-2017 and media and activities used in the NACC’s corruption prevention campaigns. The 30 key informants were chosen through purposive sampling and consisted of 2 administrative level and 1 operations level personnel of the NACC involved with the campaigns, 4 creative personnel and 23 youth who were exposed to the NACC’s campaign media or participated in the campaign activities. The research tools were an in-depth interview form and document analysis form and were analyzed deductively. The results showed that 1) The difficulties with the campaigns were that youth did not understand and lacked confidence in the roles and responsibilities of the NACC; and although many kinds of imagery and graphics were used in the presentation of the campaign messages, the wording contained too much legal jargon that was hard for youth to understand. 2) The patterns of the campaigns included both one-way communication and participatory communication. 3) The NACC used both controlled media and uncontrolled media, but the main emphasis was on media they could control as well as a wide variety of activities. 4) The messages took the form of storytelling, both interview-style and stories that were close to the lives of the message receivers. The images that were used included public relations photographs, videos, infographics, and motion graphics. Two levels of language were used: official language and conversational language. 5) The NACC’s corruption prevention campaign strategies aimed at youth comprised: (1) participatory communication via a wide variety of activities joined by youth and related stakeholders; (2) enlisting social media influencers to help transmit messages that corruption is something that should concern youth; (3) creating positive messages that featured subject matter close to the lives of today’s youth; and (4) utilizing innovations such as music videos, interviews clips, and all different kinds of social media platforms; making a specific anti-corruption applications, and creating an educational online game that shows youth ways to prevent corruption | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สันทัด ทองรินทร์ | th_TH |
dc.contributor.coadvisor | นันทพร วงษ์เชษฐา | th_TH |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License