กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3008
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Campaign strategies of the Office of the National Anti-Corruption Commission to prevent corruption targeting youth
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทพร วงษ์เชษฐา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์, 2551-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การทุจริตและประพฤติมิชอบ--การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน เกี่ยวกับ 1) สภาพปัญหาการรณรงค์ 2) รูปแบบการรณรงค์ 3) การใช้สื่อและกิจกรรม 4) การใช้สาร และ 5) กลยุทธ์การรณรงค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสาร ได้แก่ เนื้อหาจากรายงานประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2560 สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ และกิจกรรมการรณรงค์ด้านการป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง รวมจำนวน 30 คน จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน ผู้ปฏิบัติงาน 1 คน นักคิดสร้างสรรค์ 4 คน และเยาวชนที่เปิดรับสื่อ หรือเข้าร่วมกิจกรรมของสํานักงาน ป.ป.ช. จำนวน 23 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบวิเคราะห์เอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการศีกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการรณรงค์ คือ เยาวชนขาดความเข้าใจและขาดความเชื่อมั่นในบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. การนำเสนอเนื้อหาสารมีการนำเสนอภาพในหลากหลายรูปแบบ แต่การใช้ภาษาเป็นภาษากฏหมายที่ยากเกินไปสําหรับเยาวชน 2) รูปแบบการรณรงค์มีทั้งการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 3) การใช้สื่อและกิจกรรม มีทั้งสื่อที่ควบคุมได้ และสื่อที่ควบคุมไม่ได้ สื่อส่วนใหญ่ที่นำเสนอเน้นไปที่สื่อที่ควบคุมได้ รวมถึงการใช้กิจกรรมที่หลากหลายประเภท 4) การใช้สาร มีการเล่าเรื่องมีทั้งแบบสัมภาษณ์ และการเล่าเรื่องแบบใกล้ตัวของผู้รับสาร การใช้ภาพเพื่อรณรงค์มีลักษณะเป็นภาพข่าวประชาสัมพันธ์การนําเสนอด้วยภาพวิดีโอ การนําสื่ออินโฟกราฟิก และโมชันกราฟิก ส่วนระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ป้องกันการทุจริตในกลุ่มเยาวชน มีการใช้ภาษา 2 ระดับภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาถึงทางการ และภาษาแบบสนทนา 5) กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน มีทั้งสิ้น 4 กลยุทธ์ ดังนี้ (1) กลยุทธ์ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมโดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้เยาวชนและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม (2) กลยุทธ์การใช้ผู้ทรงอิทธิพลในสื่อออนไลน์เข้ามาช่วยในการรณรงค์โดยสื่อสารโน้มน้าวใจในประเด็นการทุจริตเป็นเรื่องใกล้ตัวของเยาวชน (3) กลยุทธ์การสร้างสารเพื่อการรณรงค์มุ่งนำเสนอเนื้อหาสารที่เน้นด้านดีเพียงด้านเดียว และนำเสนอสารที่เป็นเรื่องใกล้ตัวของเยาวชน (4) กลยุทธ์การถ่ายทอดนวัตกรรม มีการจัดทำมิวสิควิดีโอ การจัดทำคลิปสัมภาษณ์การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายสื่อ และการจัดทําแอปพลิเคชั่น ตลอดจนการจัดทําเกมออนไลน์ที่มุ่งสอนเรื่องการป้องกันการทุจริตให้กับกลุ่มเป้าหมายเยาวชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3008
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons