Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3009
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพงษ์ วิเศษสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเพิ่มพร ณ นคร, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-02-02T08:46:18Z-
dc.date.available2023-02-02T08:46:18Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3009-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตละครโทรทัศน์ไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการผลิต 2) ช่องทางการตลาด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการส่งออก และ 4) แนวทางในการส่งเสริมการผลิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารจากสถานีโทรทัศน์ ผู้จัดละครโทรทัศน์และผู้กำกับการแสดงที่เคยผลิตและเผยแพร่การผลิตละครไทยทางสื่อโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิทัลมาแล้วอย่างน้อย 3 เรื่อง ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 จํานวน 9 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการผลิต ละครโทรทัศน์ไทย มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และทุนวัฒนธรรมในกระบวนการผลิตทั้ง 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการวางแผน เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของการผลิต ละครโทรทัศน์และการค้นหาข้อมูลจากบทประพันธ์ บทละครโทรทัศน์เวอร์ชั่นเดิมมากขึ้น (2) ขั้นการเตรียมก่อนการผลิต ให้ความสําคัญกับการเตรียมบทละครและนักแสดงต้องไม่ด้อยไปกว่าเวอร์ชั่นเดิม (3) ขั้นการผลิต มีวิธีการผลิต เพื่อการส่งออก 4 วิธี ได้แก่ (ก) การผลิตซ้ำจากละครไทย (ข) การผลิตซ้ำโดยการเปลี่ยนชื่อ (ค) การผลิตซ้ำจากซีรีส์ต่างประเทศ และ (จ) การผลิตซ้ำแบบภาคต่อ (4) ขั้นตอนหลังการผลิต มีรูปแบบรายการของการผลิตที่นิยมส่งออกมากที่สุดคือ รูปแบบรายการโทรทัศน์แบบสําเร็จและชื่อลิขสิทธิ์บทประพันธ์แบบเค้าโครงเรื่องจากนวนิยายไทย 2 ช่องทางการตลาดเพื่อการส่งออก มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการเผยแพร่และการสื่อสารการตลาดมีวิธีการส่งออกการผลิตซ้ำโดย (1) ผู้ผลิตมีฝ่ายขายโดยตรงในการติดต่อซื้อขายเนื้อหาละครไทย (2) ผู้ผลิตพึ่งพาบริษัทบริหารการส่งออกเป็นตัวแทนในการขาย และ (3) การตกลงร่วมกันฉายพร้อมกัน 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการส่งออก พบว่า (1) นโยบายของสถานีโทรทัศน์เปิดโอกาสให้การสนับสนุนผู้ผลิตดำเนินการผลิต (2) กระแสผู้ชนในประเทศ เป็นอุปสงค์ที่สะท้อนถึงสภาพตลาดผู้ชมในประเทศ และสร้างความสามารถต่อการแข่งขันในการส่งออก (3) เนื้อหาที่มีนักแสดงหรือดาราไทยที่ผู้ชมต่างประเทศ ชื่นชอบ (4) สถานการณ์ การแข่งขัน เกิดช่องรายการทางทีวีดิจิทัลจํานวนเพิ่มขึ้น ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมหลายช่องทางส่งผลต่อเงินโฆษณาลดลง (5) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยการเชื่อมโยงของสังคม และสร้างการรับรู้แบบข้ามวัฒนธรรม (6) งบประมาณ ส่งผลต่อคุณภาพที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ช่วยให้ทุกแผนกในการทำงานมีเป้าหมายมากขึ้น 4) แนวทางในการส่งเสริมการผลิต พบว่า (1) ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ด้านการจัดการความรู้จากสถาบันการศึกษาเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน (2) ผู้ผลิตควรนำทุนวัฒนธรรมไปประยุกต์ใช้ให้มากขึ้นโดยเฉพาะบทประพันธ์ และสถานที่ของไทยเพื่อต่อยอดเชิงธุรกิจได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectละครโทรทัศน์ไทย--แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทยth_TH
dc.title.alternativeApplication of creative economy in making remakes of Thai TV ramasth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research on application of creative economy in making remakes of Thai TV dramas intended to study 1) the production process; 2) marketing channels; 3) factors that affected the success of exports; and 4) ways to promote remakes. This was a qualitative research based on in-depth interviews. The 9 key informants were chosen from among TV station executives, TV drama producers and directors who had worked on at least 3 remakes of Thai TV dramas for release on free TV or digital TV in the years 2014-2019. Data were collected with a semi-structured interview form and analyzed by drawing conclusions. The results showed that 1) aspects of creative economy (creative ideas, technology, and cultural capital) were applied in all 4 steps of the Thai TV drama remake production process: (a) planning: market analysis and research from novels and old versions of TV dramas; (b) pre-production: preparation of the script and casting of actors who are at least as good as in the original; (c) production: remakes for export are made in 4 ways – remakes of past Thai TV dramas, new versions under new names, new versions of foreign TV shows, and sequels; (d) post production: the most common types of remake exports are complete TV series and copyrights to the plots of Thai novels. 2) For export channels, makers of remakes utilized Internet technology for broadcasting their work and for marketing communications. Remakes were exported in 3 ways – the producer’s own sales division sold the content, or it was sold through an export agent, or they made an agreement for simultaneous broadcast. 3) Factors that affected the success of exports were (a) the TV station’s policy that supported the production of remakes; (b) domestic viewer trends that reflected domestic demand and made Thai producers more competitive in the export market; (c) Thai stars that are popular in other countries; (d) the situation of market competition allowed for the birth of new digital TV channels, and as viewers had a various platforms to view TV programs, advertising revenue dropped; (e) advances in information and communication technology helped link societies and bring about greater cross cultural exchange and awareness; and (f) higher budgets enabled Thai producers to increase their quality and become more competitive as people in all the different production departments could work in a more goal-oriented way. 4) The suggestion to promote the production of remakes for export includes: the government sector should put a priority on human capital and knowledge management, and should encourage educational institutions to nurture more creative ideas and stimulate technology to equip their students with skills that are needed in the workplace. TV producers should apply cultural capital to a greater extent, especially by using Thai literary works and filming locations that can create added valueen_US
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons