Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3009
Title: การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ไทย
Other Titles: Application of creative economy in making remakes of Thai TV ramas
Authors: ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงษ์ วิเศษสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพิ่มพร ณ นคร, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ละครโทรทัศน์ไทย--แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตละครโทรทัศน์ไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการผลิต 2) ช่องทางการตลาด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการส่งออก และ 4) แนวทางในการส่งเสริมการผลิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารจากสถานีโทรทัศน์ ผู้จัดละครโทรทัศน์และผู้กำกับการแสดงที่เคยผลิตและเผยแพร่การผลิตละครไทยทางสื่อโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิทัลมาแล้วอย่างน้อย 3 เรื่อง ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 จํานวน 9 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการผลิต ละครโทรทัศน์ไทย มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และทุนวัฒนธรรมในกระบวนการผลิตทั้ง 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการวางแผน เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของการผลิต ละครโทรทัศน์และการค้นหาข้อมูลจากบทประพันธ์ บทละครโทรทัศน์เวอร์ชั่นเดิมมากขึ้น (2) ขั้นการเตรียมก่อนการผลิต ให้ความสําคัญกับการเตรียมบทละครและนักแสดงต้องไม่ด้อยไปกว่าเวอร์ชั่นเดิม (3) ขั้นการผลิต มีวิธีการผลิต เพื่อการส่งออก 4 วิธี ได้แก่ (ก) การผลิตซ้ำจากละครไทย (ข) การผลิตซ้ำโดยการเปลี่ยนชื่อ (ค) การผลิตซ้ำจากซีรีส์ต่างประเทศ และ (จ) การผลิตซ้ำแบบภาคต่อ (4) ขั้นตอนหลังการผลิต มีรูปแบบรายการของการผลิตที่นิยมส่งออกมากที่สุดคือ รูปแบบรายการโทรทัศน์แบบสําเร็จและชื่อลิขสิทธิ์บทประพันธ์แบบเค้าโครงเรื่องจากนวนิยายไทย 2 ช่องทางการตลาดเพื่อการส่งออก มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการเผยแพร่และการสื่อสารการตลาดมีวิธีการส่งออกการผลิตซ้ำโดย (1) ผู้ผลิตมีฝ่ายขายโดยตรงในการติดต่อซื้อขายเนื้อหาละครไทย (2) ผู้ผลิตพึ่งพาบริษัทบริหารการส่งออกเป็นตัวแทนในการขาย และ (3) การตกลงร่วมกันฉายพร้อมกัน 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการส่งออก พบว่า (1) นโยบายของสถานีโทรทัศน์เปิดโอกาสให้การสนับสนุนผู้ผลิตดำเนินการผลิต (2) กระแสผู้ชนในประเทศ เป็นอุปสงค์ที่สะท้อนถึงสภาพตลาดผู้ชมในประเทศ และสร้างความสามารถต่อการแข่งขันในการส่งออก (3) เนื้อหาที่มีนักแสดงหรือดาราไทยที่ผู้ชมต่างประเทศ ชื่นชอบ (4) สถานการณ์ การแข่งขัน เกิดช่องรายการทางทีวีดิจิทัลจํานวนเพิ่มขึ้น ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมหลายช่องทางส่งผลต่อเงินโฆษณาลดลง (5) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยการเชื่อมโยงของสังคม และสร้างการรับรู้แบบข้ามวัฒนธรรม (6) งบประมาณ ส่งผลต่อคุณภาพที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ช่วยให้ทุกแผนกในการทำงานมีเป้าหมายมากขึ้น 4) แนวทางในการส่งเสริมการผลิต พบว่า (1) ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ด้านการจัดการความรู้จากสถาบันการศึกษาเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน (2) ผู้ผลิตควรนำทุนวัฒนธรรมไปประยุกต์ใช้ให้มากขึ้นโดยเฉพาะบทประพันธ์ และสถานที่ของไทยเพื่อต่อยอดเชิงธุรกิจได้
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3009
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons