Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorราชันย์ นิลวรรณาภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-08T02:03:25Z-
dc.date.available2022-08-08T02:03:25Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/300-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย(2) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสําเร็จในการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย (3) ศึกษาปัญหาการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย และ (4) พัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 28 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่มีการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย จํานวน 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย รับรองร่างรูปแบบด้วยการประชุมผู้เชี่ยวชาญจํานวน 10 คน และตรวจสอบรูปแบบโดยนําคู่มือไปใช้ในหน่วยงานที่มีการจัดการคัมภีร์ใบลาน 3 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทยเป็นการจัดการกระจาย ในแต่ละภูมิภาคในลักษณะโครงการ โดยมีนโยบายจัดตั้งเป็นสถาบัน ศูนย์ หรือพิพิธภัณฑ์ที่มีแผนพัฒนา คัมภีร์ใบลานให้อยู่ในรูปดิจิทัล และมีกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสําเร็จ ในการจัดการคัมภีร์ใบลาน ได้แก่ การกำหนดให้การจัดการคัมภีร์ใบลานเป็นนโยบายหลักขององค์กร การมีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนและมีบุคลากรรับผิดชอบ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร และเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคคล 3) ปัญหาการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างองค์กรไม่ชัดเจนและ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง ความไม่ต่อเนื่องของงบประมาณสนับสนุน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ทันสมัย 4) รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทยประกอบด้วย ด้านการบริหารองค์กรคัมภีร์ใบลานมี 3 ระดับ ได้แก่ระดับชาติ ระดับหน่วยงานและระดับท้องถิ่น มี 6 ปัจจัย โดยปัจจัยที่สําคัญที่สุดคือการกาหนดนโยบายการจัดการคัมภีร์ใบลานให้เป็นนโยบายหลักขององค์กร ส่วนด้านกระบวนการจัดการคัมภีร์ใบลานทางกายภาพและทางดิจิทัลประกอบด้วย การจัดหาและรวบรวมคัมภีร์ใบลาน การจัดโครงสร้างสารสนเทศโดยการกาหนดหมวดหมู่ จากเนื้อหาในคัมภีร์ใบลาน การจัดเก็บและค้นคืน การปริวรรตใบลาน การบริการและเผยแพร่คัมภีร์ใบลาน การสงวนรักษาและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ผลการตรวจสอบความสามารถในการนํารูปแบบไปประยุกต์ใช้อยูในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectใบลาน--การจัดการth_TH
dc.subjectระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศth_TH
dc.subjectการจัดระเบียบสารสนเทศth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe development of palm-leaf manuscripts management model in Thailanden_US
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to: (1) study the status of palm-leaf manuscript management in Thailand; (2) study the key success factors affecting palm-leaf manuscript management in Thailand; (3) study the problems of palm-leaf manuscript management in Thailand; and (4) develop a model of palm-leaf manuscript management in Thailand. This research employed qualitative methods, with in-depth interviews of 28 administrators and staff in 14 organizations that manage palm-leaf manuscript collections. Purposive sampling was used to select the sample. The instrument used was the structured interview. The data analysis is inductive. Focus group discussion by 10 experts was conducted to approve the model. The applicability of the model was then validated by using the handbook to evaluate 3 organizations that manage palm-leaf manuscript collections. The research findings were as follows. (1) Regarding the status of palm-leaf manuscript management in Thailand, there exist projects for the palm-leaf manuscripts, as well as policies to establish institutes, centers, and museums, along with plans to develop digital palm-leaf manuscript collections through a collaborative strategy. 2) The factors affecting palm-leaf manuscript management in Thailand were setting palm-leaf manuscript management as the main policy of the organization, organizational structure with personnel, leadership skills of the administrators, personal collaboration and networks. 3) Problems of palm-leaf manuscript management in Thailand included lack of personnel in organizational structure, lack of a continuous budget and lack of modern technology for palm-leaf manuscript management. 4) An appropriate model of palm-leaf manuscripts management in Thailand would consist of the Palm-leaf manuscript organization management in 3 levels such as national level, institute level and local level, with 6 factors, the most important factor was by proposing palm-leaf manuscripts as the organizational policy, and the physical and digital process of palm-leaf manuscript management including information acquisition and collection, analysis by classifying contents in palm-leaf manuscripts, storage and retrieval, preservation, Transliterated palm-leaf manuscripts, dissemination and provision of services regarding palm-leaf manuscripts. The validation of the applicability of this model resulted in the high level.th_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153044.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons