กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3012
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อสร้างความสมานฉันท์ตามโครงการบุรีรัมย์สันติสุขเก้าดี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication for reconciliation building through the Buriram Nine Principles of Peace Community Project
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดารณี ธัญญสิริ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โครงการบุรีรัมย์สัมติสุขเก้าดี
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างความสมานฉันท์ตามโครงการบุรีรัมย์สันติสุขเก้าดีที่เกี่ยวข้องกับ 1) บริบทที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร 2) กระบวนการสื่อสาร 3) รูปแบบการสื่อสาร และ 4) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง รวมจำนวน 22 คน จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 บ้านเจริญสุข 1 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 1 คน ประธานคุ้ม 8 คน ประชาชนระดับแกนนำ 8 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร บ้านเจริญสุขมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นด้านประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน โดยยึดถือตามเผ่าพันธุ์คนลาวตามบรรพบุรุษ ซึ่งบริบทนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การสื่อสารเพื่อสร้างความสมานฉันท์ประสบความสำเร็จ เนื่องจากได้รับความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเป็นสำคัญ 2) กระบวนการสื่อสาร ผู้ส่งสารมีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ในเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ เนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสาร คือ เนื้อหาธรรมนูญเก้า หลักการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน สื่อหลักที่ใช้ในชุมชน คือ สื่อบุคคลและหอกระจายข่าว รวมถึงมีการสื่อสารผ่านวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดกันมา มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทไลน์ ส่วนผู้รับสารมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ส่งสารและเนื้อหาสารและมีพฤติกรรมในการให้ความร่วมมือกับผู้ส่งสาร 3) รูปแบบการสื่อสาร ใช้รูปแบบการสานเสวนาด้วยการพูดคุย การแสดงความคิดเห็น ใช้หลักศาสนาเป็นแนวทางโดยยึดคำสอน ความเชื่อ และพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ส่วนการสื่อสารผ่านประเพณีและวัฒนธรรมชุมชนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาด้วยการสอดแทรกเนื้อหาสันติสุขเก้าและความร่วมมือ การหลอมรวมเป็นพวกเดียวกัน รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติทําให้เกิดความรู้สึกผูกพันต่อกัน และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน 4) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ด้านผู้ส่งสารต้องยอมรับในความสําคัญอย่างเท่าเทียมกันของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ต้องมีทักษะ มีทัศนคติที่ดี ด้านการกำหนดประเด็นเนื้อหา เนื้อหาต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติจริงได้เป็นที่ยอมรับและเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน เนื้อหาไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงหรือเน้นเรื่องความสมานฉันท์ แต่ต้องเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของคนในชุมชนเป็นไปตามอัตลักษณ์ วิถีชุมชน ส่วนด้านรูปแบบการสื่อสารการสร้างความสมานฉันท์ ควรพัฒนาทักษะให้กับผู้นำที่มีบทบาทโดยตรงด้านการใช้การสานเสวนาการใช้หลักศาสนาเป็นแนวทาง และการสื่อสารผ่านประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3012
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons