Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3015
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลรัฐ อินทรทัศน์th_TH
dc.contributor.authorกรกฎ จำเนียร, 2524-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-02-02T09:08:37Z-
dc.date.available2023-02-02T09:08:37Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3015en_US
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2) ศึกษาบริบทโทรทัศน์ชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้นำจากพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ทะเลน้อย และพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 140 คน โดยเลือกแบบหลายขั้นตอนจากกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมทำงานกับแกนนำในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 26 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 14 คน จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้นำทางความคิดและเป็นคณะแกนนำขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ จากพื้นที่ที่มีความพร้อมพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ คือ ประวัติศาสตร์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา รวมถึงสภาพปัญหาที่พื้นที่มีความต้องการแก้ไขปัญหาประกอบด้วย ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ภัยพิบัติ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรประมง การหลงลืมวิถีชุมชน และการขาดคนรุ่นใหม่ในการร่วมขับเคลื่อนชุมชน ในขณะที่พฤติกรรมการบริโภคสื่อทั่วไปของชุมชนพบว่า ชุมชนเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุดเรียงตามลำดับคือ ช่อง 7HD ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี และช่อง 3 HD โดยที่เนื้อหาจากสื่อดังกล่าวไม่สามารถเอื้อต่อความต้องการที่แท้จริงของชุมชน จึงทำให้เกิดความต้องการโทรทัศน์ชุมชนขึ้นมา 2) บริบทโทรทัศน์ชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ คือการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มแกนนำต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายและกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน ชุมชนมีความต้องการรับชมรายการประเภทต่างๆ จากสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ เรียงตามลำดับคือ รายการข่าว รายการสารคดี และรายการละครตลก ส่วนเนื้อหารายการที่ชุมชนต้องการเรียงตามล่าดับคือ เนื้อหาการพัฒนาตาม ชุมชนต้องการ เนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชีวิตและเนื้อหาที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์และขยายสัญญาณภาคพื้น และ 3) แนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ คือ (1) แนวทางการบริหารโดยการมีส่วนร่วมของแกนนําและคนรุ่นใหม่ในชุมชน ตามแนวคิด “โทนดี ดังดี ดังนาน” เพราะ “โพน” เป็นเครื่องมือใช้สื่อสารร่วมกันของคนทุกกลุ่มในพื้นที่ลุ่มน้ำฯ มาแต่โบราณ เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ ที่ต้องใช้วิธีการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนทุกระดับตั้งแต่การร่วมวางกติการ่วมคิด ร่วมผลิต แถะร่วมติดตามประเมินผลสถานีฯ (2) แนวทางการพัฒนารูปแบบและเนื้อหารายการ ควรมาจากคณะทํางานชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกพื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ (3) แนวทางการจัดหารายได้ คือ การบริจาค ค่าโฆษณาที่ส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน และทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสถานีโทรทัศน์--ไทย--สงขลาth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for community television station development in Songkhla Lake Basinen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) study Songkhla Lake Basin context that advocates the development of community television station in Songkhla Lake Basin 2) study the context of community television contributed to the development of the community television and 3) propose the development guidelines of community television station to solve problems and develop Songkhla Lake Basin. This research is mixed method. Questionnaire survey was utilized in quantitative method to collect data from 140 community leaders from Thale Noi and Sathing Phra Peninsular; two key areas of Songkhla Lake Basin. The samples were selected by multistage sampling from people who work with community leaders. The data was analyzed by descriptive statistics which are mean and standard deviation. For qualitative method, the researcher applied focus groups with 26 key informants and in depth interview with 14 key informants who are opinion leaders and leader board working for community activities from the areas which have readiness for the development of community television station. The data was, then, analyzed by content analysis. The results showed that: 1) the context that advocates the development of community television station in Songkhla Lake Basin are history, abundance with various culture and lifestyle of Songkhla Lake Basin including problems that the area needs to solve consisting of the consecutive flooding, natural disaster, degradation of environment and fishery resources, abandonment on communities, and insufficient participation of young generations. In relation to media consumption behavior, the top three TV media the local residents expose to are 7 HD, Workpoint TV and 3 HD which their content can not advocate local residents’ real need. This is the reason that they prefer community television. 2) The community television context which is contributing factor of community television development reveals cooperation between community leaders who possess diverse expertise in communication and young generations who keen in using modern media. The top three TV programs local residents expect from the community television station are news, documentaries and comedies. When consider the contents, they apprise to watch any programs related to community development, stability of life and community identity through online broadcasting media and expanding to terrestrial signals and 3) the findings on guidelines of the development of the community television are (1) management guidelines with participatory of leaders and young generations in community according to the concept of "Phon Dee Dung Dee Dung Nan" (best drum sounds of all time) because "Phon" has been a common communication tool for all communities in Songkhla Lake Basin since ancient time. This concept will be applied for the development of community television station which need the participation of residents at all steps; set rules, think, produce and monitor and evaluate the community television station. (2) guidelines for program format and content development should come from the community working group to benefit all areas around the Songkhla Lake Basin and (3) guidelines for procurement of income should come from donations, advertising that promote the economy in the community and grants from local agencies or organizationsen_US
dc.contributor.coadvisorปิยฉัตร ล้อมชวการth_TH
dc.contributor.coadvisorภัทรา บุรารักษ์th_TH
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons