Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3015
Title: | แนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา |
Other Titles: | Guidelines for community television station development in Songkhla Lake Basin |
Authors: | กมลรัฐ อินทรทัศน์ กรกฎ จำเนียร, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปิยฉัตร ล้อมชวการ ภัทรา บุรารักษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สถานีโทรทัศน์--ไทย--สงขลา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2) ศึกษาบริบทโทรทัศน์ชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้นำจากพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ทะเลน้อย และพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 140 คน โดยเลือกแบบหลายขั้นตอนจากกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมทำงานกับแกนนำในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 26 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 14 คน จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้นำทางความคิดและเป็นคณะแกนนำขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ จากพื้นที่ที่มีความพร้อมพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ คือ ประวัติศาสตร์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา รวมถึงสภาพปัญหาที่พื้นที่มีความต้องการแก้ไขปัญหาประกอบด้วย ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ภัยพิบัติ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรประมง การหลงลืมวิถีชุมชน และการขาดคนรุ่นใหม่ในการร่วมขับเคลื่อนชุมชน ในขณะที่พฤติกรรมการบริโภคสื่อทั่วไปของชุมชนพบว่า ชุมชนเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุดเรียงตามลำดับคือ ช่อง 7HD ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี และช่อง 3 HD โดยที่เนื้อหาจากสื่อดังกล่าวไม่สามารถเอื้อต่อความต้องการที่แท้จริงของชุมชน จึงทำให้เกิดความต้องการโทรทัศน์ชุมชนขึ้นมา 2) บริบทโทรทัศน์ชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ คือการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มแกนนำต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายและกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน ชุมชนมีความต้องการรับชมรายการประเภทต่างๆ จากสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ เรียงตามลำดับคือ รายการข่าว รายการสารคดี และรายการละครตลก ส่วนเนื้อหารายการที่ชุมชนต้องการเรียงตามล่าดับคือ เนื้อหาการพัฒนาตาม ชุมชนต้องการ เนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชีวิตและเนื้อหาที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์และขยายสัญญาณภาคพื้น และ 3) แนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ คือ (1) แนวทางการบริหารโดยการมีส่วนร่วมของแกนนําและคนรุ่นใหม่ในชุมชน ตามแนวคิด “โทนดี ดังดี ดังนาน” เพราะ “โพน” เป็นเครื่องมือใช้สื่อสารร่วมกันของคนทุกกลุ่มในพื้นที่ลุ่มน้ำฯ มาแต่โบราณ เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ชุมชนฯ ที่ต้องใช้วิธีการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนทุกระดับตั้งแต่การร่วมวางกติการ่วมคิด ร่วมผลิต แถะร่วมติดตามประเมินผลสถานีฯ (2) แนวทางการพัฒนารูปแบบและเนื้อหารายการ ควรมาจากคณะทํางานชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกพื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ (3) แนวทางการจัดหารายได้ คือ การบริจาค ค่าโฆษณาที่ส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน และทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3015 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License