Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3023
Title: ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 : ศึกษาบทบาทผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน
Other Titles: Problems in criminal dispute mediation under the Dispute Mediation Act B.E.2562 : a study of the roles of mediators at the inquiry stage
Authors: ปวินี ไพรทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภูมิพัฒน์ สัญญา, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไกล่เกลี่ย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและความสําคัญของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการสอบสวนและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา (3) ศึกษากฎหมายและกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในประเทศไทยและต่างประเทศ (4) วิเคราะห์ปัญหาบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน (5) เสนอแนะแก้ไขบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยทําการศึกษาจากหนังสือ บทความ เอกสารงานวิจัย ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัย และนำมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการวิจัยต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีปริมาณคดีอาญาขึ้นสู่ศาลเป็นจํานวนมาก ทําให้เกิดปัญหาด้านการบริหารงานยุติธรรมในหลายด้าน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการทางศาลโดยไม่จําเป็นและลดผลร้ายจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ประเทศไทยจึงได้นำแนวคิดกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 ขึ้นมาใช้บังคับ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่จากการศึกษา พบว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน ในส่วนของบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย พบปัญหา ดังนี้ (1) ปัญหาพนักงานสอบสวนขาดการมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้กำหนดบทบาทในการมีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาให้กับพนักงานสอบสวน ทั้งที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงสมควรที่จะให้พนักงานสอบสวนเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วย (2) ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเป็นองค์คณะไกล่เกลี่ย ซึ่งชุมชนถือว่ามีความสำคัญต่อคู่กรณี เนื่องจากชุมชนเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิด โดยเมื่อผู้กระทำความผิดพ้นโทษหรือการไกล่เกลี่ยสำเร็จ ผู้กระทำความผิดก็จะต้องกลับสู่ชุมชนของตนเอง ดังนั้น จึงเห็นควรให้ชุมชนเข้าร่วมเป็นองค์คณะไกล่เกลี่ยทางอาญาในชั้นการสอบสวนด้วย และ (3) ปัญหาองค์คณะไกล่เกลี่ยที่เป็นบุคคลภายนอก ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเพียงคนเดียว อาจมีการแทรกแซงหรือเรียกรับผลประโยชน์จากคู่กรณีได้ ดังนั้น จึงเห็นว่าการไกล่เกลี่ยควรกระทำในรูปของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา โดยให้ชุมชนร่วมกับพนักงานสอบสวนและบุคคลภายนอกร่วมเป็นองค์คณะไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3023
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons