Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3025
Title: การจัดการกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในฤดูนาปี 2556 ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
Other Titles: Process management of Khoa Dawk Mali 105 rice production in the 2013 wet season at Ban Sang Sub-district, Mueang District, Phayao Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายใจ แสงอรุณ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การปลูก
ข้าว--พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร 2) การจัดการการผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร 3) ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร 4) ปัญหาในการผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ 5) ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการจัดการกระบวนการผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.82 ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครัวเรือน 4.01 คน ไม่ได้เป็นผู้นำชุมชน เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร เป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์พื้นที่ทำนาปีเฉลี่ย 7.92 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 5.44 ไร่ ใช้แรงงานภายในครัวเรือนและจ้างบางส่วน มีสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 1.16 คน ส่วนใหญ่ทำนาในที่นาของตนเองและที่เช่าเพิ่มเติม ปลูกข้าว ปีละ 1 ครั้ง ใช้เงินทุนของตนเอง แหล่งสินเชื่อมาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีอาชีพเสริมรับจ้างทั่วไป 2) การจัดการการผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่าเกษตรกร ปลูกข้าวเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน พื้นที่นาเป็นที่ลุ่มดินร่วนปนทราย ใช้น้าฝนในการทำนา ปลูกแบบปักดาและใช้แรงงานคนเป็นหลัก ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 13.01 กิโลกรัม/ไร่ มีการแช่และห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ก่อนหว่านหรือก่อนตกกล้า อายุต้นกล้าที่ใช้เฉลี่ย 33.60 วัน ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีการรักษาระดับน้ำแต่ไม่ได้ทำตลอดฤดูกาลผลิต กาจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี ไม่มีการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าวไม่มีการระบายน้ำออกก่อนการเก็บเกี่ยว ใช้รถเกี่ยวนวดข้าวเก็บเกี่ยวผลผลิต แล้วจะนำไปจำหน่ายทันที ถ้าใช้แรงงานคน จะตากฟ่อนข้าวไว้ในนา 1 –3 วัน ก่อนนวด ส่วนใหญ่ เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก 3) ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตข้าว พบว่าต้นทุนการผลิตทั้งหมด 5,687.99 บาทต่อไร่ ผลตอบแทน เฉลี่ย 7,088.06 บาท/ไร่ กาไรสุทธิเฉลี่ย 1,400.07 บาท/ไร่ 4) ปัญหาในการผลิต พบว่า ปัญหาระดับมากคือด้านแรงงาน ปุ๋ยเคมีและสารเคมี 5) ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการจัดการ ได้แก่ ด้านการผลิต ต้องดูแลเอาใจใส่สำรวจตรวจแปลงนาอย่างสม่าเสมอ ด้านปัจจัยการผลิตควรควบคุมราคา ด้านความรู้ หน่วยงานราชการควรอบรมให้ความรู้เรื่องการผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ด้านเทคโนโลยีการผลิต ควรสนับสนุนรถเกี่ยวนวดข้าวให้เพียงพอ และในด้านการตลาด รัฐบาลควรมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรด้านราคาข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3025
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146078.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons