กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3027
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรปากเกร็ด จำกัด จังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of the environmental impacts to the financial management of Pakkret Agriculture Cooperative Limited, Nontaburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัญญา หิรัญรัศมี มยุรี เจนเชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรปากเกร็ด--การเงิน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรปาก เกร็ด จำกัด จังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงิน ของสหกรณ์การเกษตรปากเกร็ด จำกัด (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานทาง การเงินของสหกรณ์การเกษตรปากเกร็ด จำกัด รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจาก ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากรายงานกิจการประจำปีของสหกรณ์รายงานของผู้สอบบัญชีเอกสารทาง วิชาการ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงินเปรียบเทียบ กับอัตราส่วนมาตรฐานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าสภาพแวดล้อมภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ เทคโนโลยี มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรปากเกร็ด จำกัด คือ 1) ด้านการเมือง ผ่าน นโยบายการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดนนทบุรี และการขยายเครือข่ายคมนาคม ทำให้สมาชิกสหกรณ์ขาย ที่ดินทางการเกษตร และนำเงินที่ได้มาฝากไวักับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูง และต้อง พยายามปรับตัวเพื่อบริหารการเงินให้เกิดผลตอบแทนเพื่มขึ้น 2) ด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีโครงสร้างที่ เน้นการทำอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเป็นที่อยู่อาศัย ประชากรมีรายได้ต่อคนสูงขึ้น เป็นโอกาส ให้ธุรกิจปั๊มน้ำมันของสหกรณ์สามารถสร้างรายได้ให้แก่สหกรณ์ให้เพื่มขึ้น แต่ที่ตั้งของสถานีบริการ ไม่เอื้ออำนวย ทำให้มีผลกำไรไม่มากนัก 3) ด้านสังคม จำนวนประชากรในจังหวัดเพื่มขึ้น และส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร ทำให้ความต้องการในสินค้าทางการเกษตรลดลงและมีค่านิยม ในการขึ้อสินค้าจากร้านค้าขนาดใหญ่ส่งผลให้ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ประสบผล ขาดทุนอย่างต่อเนึ๋อง รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป สมาชิกใช้รถยนต์มากขึ้น เอื้อให้ธุรกิจปั๊มนํ้ามัน ของสหกรณ์มีรายได้เพื่มขึ้น 4) ด้านเทคโนโลยี ยังไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของ สหกรณ์มากนัก ข้อเสนอแนะ สหกรณ์ควรทำการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในสหกรณ์เป็น ระยะและนำไปวางแผนการบริหารงานที่เหมาะสมกับสหกรณ์เองอย่างจริงจัง เพื่อสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจอย่างมีแนวทางที่ชัดเจน และสอดคล้องกับความสามารถของสหกรณ์เอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3027 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118534.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License