กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3031
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคชมพู่ทับทิมจันทร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตจังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The behavior of Thai tourists in consuming Tap Tim Chan Rose Apples in Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภูวนาถ หงส์ศุภางค์พันธุ์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ชมพู่ทับทิมจันทร์
พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตจังหวัดราชบุรี 2) ภาพลักษณ์ของชมพู่ทับทิมจันทร์ในสายตาของนักท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี 3) พฤติกรรมในการบริโภคชมพู่ทับทิมจันทร์ของนักท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี 4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของนักท่องเที่ยวกับภาพลักษณ์ของชมพู่ทับทิมจันทร์ในสายตาของนักท่องเที่ยวและพฤติกรรมการบริโภคชมพู่ทับทิมจันทร์ 5) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจบริโภคชมพู่ทับทิมจันทร์ของนักท่องเที่ยว 6) ข้อเสนอแนะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ขายชมพู่ทับทิมจันทร์ให้ผลิตและจาหน่ายชมพู่ทับทิมจันทร์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทำธุรกิจส่วนตัว รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ระดับ 20,001-30,000 บาท จานวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน และภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมลฑล 2) ชมพู่ทับทิมจันทร์มีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของนักท่องเที่ยวเนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักชมพู่ทับทิมจันทร์ร้อยละ 87.40 และเคยรับประทานชมพู่ทับทิมจันทร์ร้อยละ 88.20 3) ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจซื้อชมพู่ทับทิมจันทร์ด้วยตนเอง จากการพิจารณาความสดและสีของชมพู่ทับทิมจันทร์ โดยเฉลี่ยปริมาณ 2 กก.ต่อครั้ง 4) อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ จำนวนสมาชิก และภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคชมพู่ทับทิมจันทร์ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวคือ การแนะนำของผู้ขาย การประชาสัมพันธ์แนะนำผ่านป้ายโฆษณาตามสถานที่ท่องเที่ยว ความสด-ใหม่ สะอาดของชมพู่ทับทิมจันทร์ มีป้ายแสดงราคาชัดเจน และจำหน่ายอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว 6) ควรเสนอแนะเกษตรกรเรื่องคุณภาพของชมพู่ทับทิมจันทร์ โดยผลิตให้ผ่านมาตรฐาน GAPการจัดรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ และการเพิ่มที่จำหน่ายให้มากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3031
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146083.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons