Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3038
Title: แนวทางการพัฒนาโครงการรับจำนำมันสำปะหลังอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Developmental guidelines for cassava pledging scheme in Kantharalak District of Si Sa Ket Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงลักษ์ วรรณศรี, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โครงการรับจำนำมันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 2) ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการรับจานามันสำปะหลัง จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาโครงการรับจำนามันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ต่ำกว่า 3 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือน ต่ำกว่า 3 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรสหกรณ์ภาคการเกษตร ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร อาชีพรองรับจ้างทางการเกษตร รายได้ครัวเรือน มากกว่า 150,001 บาทต่อปี รายได้จากการจำหน่ายมันสำปะหลัง มากกว่า 150,001 บาท รายจ่ายครัวเรือน ต่ำกว่า 100,000 บาท หนี้สินในระบบอยู่ระหว่าง 100,000 –150,000 บาท หนี้สินนอกระบบ ต่ำกว่า 60,000 บาท 2) ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการรับจำนามันสำปะหลัง พบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์ มีความพึงพอใจในระดับมาก ด้านการขึ้นทะเบียนเกษตรกร มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ด้านการขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. มีความพึงพอใจในระดับน้อย ด้านการติดต่อนัดหมายฝากและส่งมอบมันสำปะหลังกับ อคส. มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ด้านการรับใบประทวน มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ด้านการติดต่อขอรับเงินกู้และขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง 3 ) ปัญหาอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการของเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องพบว่า มีปัญหาในเรื่องการกำหนดวันและเวลาในการรับจำนาในระดับมาก รองลงมาคือการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ส่วนเกษตรกรพบปัญหาด้านโรงสีที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนน้อย มีการกดราคามันสำปะหลัง การบริการล่าช้า ค่าขนส่งแพง ความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงาน และจุดรับจำนามันสำปะหลังมีน้อย สำหรับแนวทางแนวทางการพัฒนาโครงการ มีดังนี้ (1) ปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาการขึ้นทะเบียนให้เหมาะสม และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรให้มีความเชื่อมโยงกับข้อมูลของกรมการปกครอง (2) ขยายเวลารับจำนามันสำปะหลัง (3) พัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสาปะหลัง (4) ปรับปรุงการบริหารงบประมาณของโครงการให้รวดเร็ว (5) จัดเก็บมันสำปะหลังตามคุณภาพที่เกษตรกรนำไปจำนา (6) ส่งเสริมให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว และ (7) สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรที่มีฐานะดีเข้าใช้ประโยชน์จากโครงการรับจำนา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3038
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146088.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons