กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3047
ชื่อเรื่อง: การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มพิมานปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม ตามการรับรู้ของครู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The enhancement of professional learning community of school administrators in the Bhimarn Pathom Cluster under the Secondary Education Service Area Office 9 in Nakhon Pathom Province based on teacher's perception
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุจิตรา ภิรมย์นิล, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--นครปฐม
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มพิมานปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนครปฐม ตามการรับรู้ของครู (2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจําแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับมัธยมศึกษาในกลุ่มพิมานปฐม จำนวน 222 คน โดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีความเที่ยงเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มพิมานปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัญหาของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ มีภาระงานมาก ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างแท้จริง มีงบประมาณจำกัด ไม่ได้นำผลการอบรมของครูมาขยายผล ไม่ได้เปิดโอกาสให้ครูพัฒนาอย่างทั่วถึง และไม่มีแนวทางการรายงานผลที่เป็นระบบ ส่วนข้อเสนอแนะสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาร่วมพัฒนาครู การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูทางออนไลน์ การสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมอย่างทั่วถึงและนำความรู้และประสบการณ์มาอภิปรายร่วมกัน และการกําหนดรูปแบบการรายงานผลให้ชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3047
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons