Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3048
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสิริวัฒน์ บริพิศ, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-03T08:31:02Z-
dc.date.available2023-02-03T08:31:02Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3048-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 343 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี แอล เอส ดี ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการสื่อสารภายนอกเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการปรับหลักสูตรให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงด้านการยกระดับการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครู ด้านการประเมินผลและกำกับติดตามการเรียนการสอน ด้านการกำหนดเป้าประสงค์และทิศทางการพัฒนาและด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกและความร่วมมือระหว่างคณะครู ตามลำดับ และ (2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผู้บริหารที่อยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน มีภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า มีความแตกต่างกัน 4 คู่ คือ 1) ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีภาวะผู้นำทางเรียนการสอนสูงกว่าผู้บริหารที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีภาวะผู้นำทางเรียนการสอนสูงกว่าผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ 3) ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดกลาง และ 4) ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนสูงกว่าผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดกลางth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำth_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--สุราษฎร์ธานีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeInstructional leadership of school administrators in the 21st century of secondary schools in Surat Thani Province under the Secondary Education Service Area Office 1th_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1 ) to study instructional leadership of school administrators ill the 2 1st Century of secondary schools under the Secondary Education Service Area Office 11 in Surat Thani Province: and (2) to compare the levels of instructional leadership of school administrators in the 21st Century of secondary schools as classified by school size. The research sample consisted of 343 teachers in schools under the Secondary Education Service Area Office 11 in Surat Thani province, obtained by stratified random sampling based on school size. The employed research instrument was a rating scale questionnaire dealing with instructional leadership of school administrator, with reliability coefficient of .97. Statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA. and LSD method for pairwise comparison. The research results revealed that (1) the overall and all specific aspects of instructional leadership of school administrators ill the 2 1 st Century of secondary schools under the Secondary Education Service Aiea Office 11 in Surat Thani Province were rated at the high level; the specific aspects of instructional leadership could be ranked based on their rating means from top to bottom as follows: the aspect of promotion of external communication to support learning, the aspect of curriculum adjustment to be more relevant and connecting, the aspect of upgrading the professional development to enhance teachers’ competencies, the aspect of instructional monitoring and evaluation, the aspect of determination of development direction and goals, and the aspect of promotion of positive relationships and cooperation among teachers, respectively; and (2) as for the comparison of levels of instructional leadership of school administrators who worked in schools of different sizes, it was found that the school administrators who worked in schools of different sizes differed significantly at the .05 level in their levels of instructional leadership: when the pairwise comparisons were conducted, significant differences were found in the following four pairs of school administrators: 1) administrators of large schools had instructional leadership level significantly higher than that of administrators of small schools; 2) administrators of large schools had instructional leadership significantly higher than that of administrators of extra-large schools; 3) administrators of large schools had instructional leadership level significantly higher than that of administrators of medium sized schools; and 4) administrators of extra-large schools had instructional leadership level significantly higher than that of administrators of medium sized schoolsen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons