Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/305
Title: | การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | The development of a diabetic clinic service model by applying lean concept at Chaoprayayomraj Regional Hospital, Suphan Buri Province |
Authors: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พันธิภา พิญญะคุณ, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ เบาหวาน--ผู้ป่วย--บริการที่ได้รับ บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เปรียบเทียบ ผลของการใช้รูปแบบบริการคลินิกเบาหวาน ที่พัฒนาขึ้นกับรูปแบบเดิมในด้าน (1) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการ บริการของคลินิกเบาหวาน (2) ระยะเวลาการใช้บริการ (3) คุณค่าของสายธารการให้บริการตามการรับรู้ของ ผู้ป่วย และ (4) คุณภาพการบริการที่มีการลดความสูญเปล่าจากการใช้บริการครั้งแรก กลุ่มตัวอยางเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 62 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนพัฒนารูปแบบ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ และ 3) ระยะทดลองใช้รูปแบบและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการบริการคลินิกเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนที่พัฒนาขึ้น 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ ของผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน 3) แบบบันทึกเวลา การใช้บริการคลินิกเบาหวาน และ 4) นาฬิกาสำหรับจับเวลาที่เทียบ กับเวลามาตรฐานของกรมประชาสัมพันธ์ ความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อคุณภาพการ บริการของผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน มีค่าระหว่าง 0.5 - 1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ และสถิติทดสอบที กรณีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ 1) รูปแบบการบริการคลินิกเบาหวาน ประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนที่ พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการรับบริการลดลงจาก 16ขั้นตอน เหลือ 6 ขั้นตอน มีแนวทางและคู่มือการให้บริการของทีมสุขภาพที่เน้นคุณภาพการบริการมากขึ้น 2) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจสูงกว่ารูปแบบเดิมอยาางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01โดย (1) ด้านระยะเวลาการใช้บริการลดลงน้อยกว่ารูปแบบเดิม โดยระยะเวลาการใช้บริการที่สั้นที่สุด ลดลงจาก 106 นาที เป็น 47 นาที และระยะเวลาที่ยาวที่สุดลดลงจาก 434 นาที เป็น 168 นาที (2) คุณค่าสายธารการให้บริการตามการรับรู้ของผู้ป่วยสูงกว่ารูปแบบเดิม โดยมีค่าต่ำที่สุดจาก 2.07 % เพิ่มเป็น 10.12 % และค่าสูงสุดจาก 44.34 % เพิ่มเป็น 89.36 % และ (3) คุณภาพการบริการที่มีการลดความสูญเปล่าจากการใช้บริการครั้งแรกสูงกว่ารูปแบบเดิม โดยจาก 29.07 % เพิ่มเป็น 85.02 % |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/305 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License