Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3076
Title: | การประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านควบคุมภายในของสหกรณ์บริการในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Assessing cooperatives management on service cooperatives’ internal control in Prawet District, Bangkok Metropolis |
Authors: | ส่งเสริม หอมกลิ่น เมษิยา ทรงอารมภ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์ สหกรณ์บริการ การควบคุมภายใน การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) สภาพทั่วไปและผลการดำเนินงานของ สหกรณ์บริการในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 2) ประเมินคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านควบคุมภายใน ของสหกรณ์บริการในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบผลการประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้าน ควบคุมภายในกับผลการดำเนินงานของสหกรณ์บริการในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 4) ศึกษาแนวทางการนำ ผลการประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านควบคุมภายในไปปรับใช้ในการดำเนินงานของสหกรณ์บริการใน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ สหกรณ์บริการในเขตประเวศ ที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องจำนวน 4 สหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุมภายใน ของ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 2) แบบเก็บข้อมูลทางการเงินเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วน และการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปแนวทางการนำผลการประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านควบคุมภายในไปปรับใช้ในการดำเนินงาน ของสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สหกรณ์บริการในเขตประเวศกรุงเทพมหานครมีระยะเวลาการดำเนินงาน 5 - 11 ปี จำนวนสมาชิก 49-276 คน คณะกรรมการ 7 - 13 คน เจ้าหน้าที่สหกรณ์ 1 คน ส่วนใหญ่มีทุนดำเนินงาน เพิ่มขึ้น ดำเนินธุรกิจด้านเคหสถาน และ บริการแท็กซี่ 2) คุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านการควบคุม ภายใน 12 ด้าน ผลการประเมินอยูในระดับดี 1 สหกรณ์ และต้องแก้ไข 3 สหกรณ์ สัดส่วนของการปฏิบัติ ณ จุด ควบคุมน้อยที่สุด ทั้ง 4 สหกรณ์คือ การจัดทำงบดุล รองลงไป คือ ด้านอื่น ๆ จำนวน 3 สหกรณ์ 3) สหกรณ์ที่มี คุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านควบคุมภายในระดับดีค่าเฉลี่ยอัตรากำไรสุทธิ และ อัตราผลตอบแทนต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้น สูงกว่า สหกรณ์ที่มีคุณภาพการควบคุมภายในระดับต้องแก้ไขค่อนข้างมาก แต่ค่าเฉลี่ยอัตรา ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ใกล้เคียงกัน 4) แนวทางในการนำผลการประเมินการบริหารจัดการสหกรณ์ด้านควบคุม ภายใน คือ คณะกรรมการประชุมร่วมเพื่อกำหนดแนวทางและมีการติดตามแผน แต่งตั้งคณะกรรมการให้ทำ หน้าที่การเงิน การบัญชี และสหกรณ์ควรจัดทำแผน นำแผนไปปฏิบัติ และติดตามผลเป็นระยะ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3076 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
156350.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License