กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3083
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Member participation in the operations of Nikom Bang Saspan Cooperative Limited, in Prachuap Khiri Khan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ ยศวรรษ ดำยศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์ สหกรณ์การเกษตร--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด 2) ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสมาชิกสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด 3) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด จำแนกตาม ลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิก 4) ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของ สหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด และ 5) เสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด จำนวน 2,605 คน กำหนด ขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และค่าเอฟ และเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยวิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกของสหกรณ์นิคมบางสะพาน จำกัด ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อายุ ระหว่าง 50-60 ปีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา รายได้เฉลี่ยต่อปี 100,000- 200,000 ระยะเวลาเป็นสมาชิก มากกว่า 20 ปี และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกรณ์ รับรู้เป็นบางครั้งมาก ที่สุด ความถี่ 1-3 ครั้ง ต่อเดือน 2) ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสหกรณ์โดยรวมอยู่ ในระดับปานกลาง ส่วนรายด้าน พบว่า สมาชิกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมา การมีส่วนร่วมใน การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ และการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์น้อยที่สุด 3)การ เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสหกรณ์พบว่า โดยรวมแตกต่างกันและเมื่อจำแนกรายด้าน ตาม ระดับการศึกษาและรายได้พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 4) ปัญหาและอุปสรรค ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์มีธุรกิจให้บริการแก่ สมาชิกไม่ครบถ้วนตามความต้องการของสมาชิก เป็นปัญหาที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด รองลงมาขาด สิ่งจูงใจในการมีส่วนร่วมกับสหกรณ์ ไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์ ไม่มีเวลาเข้าร่วมในการ ดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ ไม่ได้รับความสะดวกจากการให้บริการของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การ เดินทางไม่สะดวก และเห็นว่าการมีส่วนร่วมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงกับสมาชิก ตามลำดับ 5) ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของสมาชิกคือ ต้องการให้คณะกรรมการสหกรณ์บริหารงานสหกรณ์อย่าง โปร่งใสตรวจสอบได้ให้ดำเนินธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับการประกอบอาชีพของสมาชิกและครบวงจร ให้มี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์และสมาชิกให้มากขึ้น ให้รัฐบาลมีแนวนโยบายในการคุ้มครองสนับสนุนการใช้ ประโยชน์ที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ที่ชัดเจน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมอาชีพให้แก่สมาชิกสหกรณ์โดย อาชีพนั้นต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและอาชีพหลักของเกษตรกร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3083 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
146595.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.8 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License