กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3089
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำการเกษตรระหว่างกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกกับกลุ่มเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาบ้านงิ้วเฒ่า อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adjustment of farmers toward alternative agriculture in line with the sufficiency economy guiding principle : a case study of Ban Ngiu Thao, Samoeng District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธ์ภิญโญ
เยาวลักษณ์ จิระโต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกรรมทางเลือก
เกษตรกรรม--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--เชียงใหม่
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกรกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกและกลุ่มเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ 2) ศึกษาด้านความรู้ความเข้าใจด้านเกษตรกรรมทางเลือก3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำการเกษตรกรรมของกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือก กับกลุ่มเกษตรกรรมเชิง พาณิชย์ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านเกษตรกรรมทางเลือกตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่ม เกษตรกรรมทางเลือกของหมู่บ้านงิ้วเฒ่า จำนวน 15 คน กลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ จำนวน 40 คน โดย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้อาวุโส การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่การทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้ Pearson Correlation Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1.) พฤติกรรมการทำการเกษตรของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรในชุมชนบ้านงิ้ว เฒ่า แม้ส่วนใหญ่ในชุมชนยังทำการเกษตรเชิงพาณิชย์เป็นหลัก แต่ก็เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตร แบบใหม่ โดยใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำหมัก เข้ามาช่วยลดต้นทุนในการผลิต 2.) กลุ่มเกษตรกรในชุมชนที่ทำการ ผลิตรูปแบบเกษตรกรรมทางเลือก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรกรรมทางเลือกตามแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงในระดับค่อนข้างมาก ขณะที่กลุ่มเกษตรกรที่ยึดรูปแบบการเกษตรเชิงพาณิชย์ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเกษตรกรรมทางเลือกตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับน้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001 3.) กลุ่มเกษตรกรในชุมชนที่ทำการผลิตรูปแบบเกษตรกรรมทางเลือกตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มเกษตรกรที่ยึดรูปแบบการเกษตรเชิงพาณิชย์มีพฤติกรรมการทำการเกษตร แตกต่างกันผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มเกษตรกรในชุมชนที่ทำการผลิตรูปแบบเกษตรกรรมทางเลือกกับกลุ่มเกษตรกรที่ยึดรูปแบบการเกษตร เชิงพาณิชย์ มีวิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้ใหม่เกี่ยวกับแนวความคิดทฤษฎีใหม่ทางการเกษตรแตกต่างกัน (t = 22.465, P < .001 ) 4.) ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำเกษตรกรรม ทางเลือกตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3089
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130324.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons