Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3109
Title: การจัดการการผลิตและการตลาดของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลองกอง ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
Other Titles: Production and marketing management for collaborative farms of longkong farmer group in Prik Subdistict, Sadao District, Songkhla Province
Authors: ภวัต เจียมจิณณวัตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อทิตยา มณีดุลย์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ลองกอง--การผลิต
ลองกอง--การตลาด
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลองกอง ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2) สภาพการผลิตและการตลาดลองกองของสมาชิกกลุ่ม 3) การดำเนินงานของกลุ่ม 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการการผลิตและการตลาดของกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.74 ปี มีสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน ปลูกยางพาราเป็นอาชีพหลัก และทาสวนลองกองและไม้ผลอื่น ๆ เป็นอาชีพรอง มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 15 ไร่ พื้นที่ปลูกลองกองเฉลี่ย 3 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกลองกองเฉลี่ย 13 ปี ทาสวนลองกองเพราะสืบทอดบรรพบุรุษ รายได้เฉลี่ยจากการทำสวนลองกองอยู่ที่ 17,376 บาท/ครัวเรือน/ปี ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 5,031.48 บาท/ปี 2) เกษตรกรทุกรายปลูกลองกองพันธุ์ต้นหยงมัส นิยมปลูกเป็นสวนผสม ด้วยวิธีเพาะเมล็ด อายุต้นลองกองส่วนใหญ่อยู่ที่ 10 - 20 ปี ใช้ระยะปลูก 7 7 เมตร มีการตัดแต่งกิ่ง ช่อดอก และช่อผล โดยใช้แรงงานในครัวเรือน การดูแลรักษาสวนลองกองส่วนใหญ่เลือกใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และเกษตรกรมีปัญหาเรื่องโรคราสีชมพูและผีเสื้อมวนหวานี้เป็นแมลงศัตรูสำคัญของสวนลองกอง ซึ่งเกษตรกรมีการป้องกันด้วยการตัดแต่งกิ่ง การตลาดของสมาชิกมีการจำหน่าย 3 รูปแบบ คือเหมาสวน ขายปลีกหน้าสวนและตลาดในชุมชน และการขายออนไลน์ แบ่งเกรดการขายเป็น 3 เกรด คือ A B และC 3) การดำเนินงานของกลุ่ม สมาชิกมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกลุ่มในด้านต่าง ๆ อยู่ที่ระดับปานกลาง กลุ่มมีการดำเนินงานตามโครงสร้างองค์การและมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่ม สมาชิกส่วนใหญ่ต้องการให้กลุ่มแก้ปัญหาเรื่องการขาดูแคลนแรงงานรุ่นใหม่ในการตัดแต่งกิ่ง ช่อดอกและช่อผล 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการจัดการผลิตและการตลาด ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพให้มี GAP ทุกปี มีคนรุ่นใหม่บริหารจัดการกลุ่ม การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย และการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3109
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons