กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3111
ชื่อเรื่อง: สื่อที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตัดแต่งกิ่งต้นไม้ในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The appropriate medai for arborist in Bangkok Metropolitan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ อินทมาตร์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สื่อการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานทั่วไปของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (2) ระดับความรู้ด้านการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ (3) สื่อที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ และ (5) แนวทางการส่งเสริมการใช้สื่อที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 94.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 42.39 ปี ร้อยละ 35.5 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประสบการณ์ทำงานสังกัดกรุงเทพมหานคร เฉลี่ย 14.88 ปี ประสบการณ์ทำงานในการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ เฉลี่ย 14.37 ปี ร้อยละ 78.7 มตำแหน่งเป็นลูกจ้างของหน่วยงาน และร้อยละ 65.1 สังกัดฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ของสำนักงานเขต มีการรับรู้ข่าวสารด้านการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่จากเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และส่วนมากได้รับวิธีการถ่ายทอดความรู้ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ ร้อยละ 64.1 มีความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นไม้มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 56.38 มีความรู้เกี่ยวกับการตัดแต่งและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ (3) สื่อที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน คือสื่อบุคคลมากที่สุด โดยต้องการเนื้อหาเรื่องวิธีการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ที่ถูกต้อง ส่วนความต้องการวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบรายบุคคล แบบกลุ่ม และแบบมวลชน คือวิทยากรจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ การศึกษาดูงาน และผ่านทางเว็บไซต์ ตามลำดับ และต้องการให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มากที่สุด (4) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสื่อของเจ้าหน้าที่พบว่า มีปัญหาด้านการให้บริการมากที่สุดเนื่องจากจำนวนผู้ถ่ายทอดความรู้ไม่เพียงพอและขาดการประชาสัมพันธ์ช่องทางการรับข้อมูล (5) แนวทางการส่งเสริมการใช้สื่อที่เหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน คือควรให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องวิธีการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ถูกต้อง ผลกระทบจากการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่ถูกต้อง และการดูแลต้นไม้ใหญ่ โดยผ่านช่องทางการถ่ายทอดแบบรายบุคคล แบบกลุ่ม และแบบมวลชน คือการเชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ พาไปศึกษาดูงาน และมีการถ่ายทอดความรู้ผ่านทางเว็บไซต์ ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3111
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons