กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3117
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนภายใต้โครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Success factor comparison of Community Rice Centers under the Project of Development and Empowering the Community Rice Center in Roi Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุลมณี ไพฑูรย์เจริญลาภ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศราวุธ ประดับคำ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณี.
ศูนย์ข้าวชุมชน--การบริหาร.--ไทย--ร้อยเอ็ด
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้าวชุมชนภายใต้โครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ระดับการปฏิบัติตามปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนภายใต้โครงการ3) เปรียบเทียบปัจจัยความสำเร็จตามความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชนภายใต้โครงการและ4) ปัญหาของศูนย์ข้าวชุมชนภายใต้โครงการผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบประถมศึกษา สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบประถมศึกษา 2) ผู้เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้าวชุมชนทั้ง 3 กลุ่มมีระดับการปฏิบัติตามปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนทั้ง 9 ด้านได้แก่ ด้านการจัดทำแปลงผลิตเมล็ดันธุ์ ด้านคุณภาพเมล็ดันธุ์ ด้านการกระจายเมล็ดันธุ์และการตลาด ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการด้านการพัฒนากลุ่มและการบริหารกลุ่ม ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุน ด้านการเสริมสร้างการเรียนรู้ และด้านการจัดการในระดับปานกลางถึงระดับมาก 3) การเปรียบเทียบปัจจัยความสำเร็จตามความเข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชนพบว่า เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบศูนย์ข้าวชุมชนที่เข้มแข็งและไม่เข้มแข็งมีระดับการปฏิบัติตามปัจจัยความสำเร็จส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ส่วนคณะกรรมการและสมาชิกของศูนย์ข้าวชุมชนที่เข้มแข็งมีระดับการปฏิบัติตามปัจจัยความสำเร็จสูงกว่าศูนย์ที่ไม่เข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติทุกด้าน 4) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้าวชุมชนกลุ่มต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าศูนย์ข้าวชุมชนมีปัญหาในด้านต่าง ๆเช่น ปัญหาด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เงินทุน และศัตรูข้าว ในระดับน้อยถึงปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3117
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146132.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons