Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3120
Title: แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Guidelines for developing of New Generation Farmers under the Responsibility of the office of Agricultural Extention and Development, Division 6, in Chiang Mai Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พชรวลัย เอี่ยมอาภรณ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--เชียงใหม่
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และการทำการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) การเรียนรู้ด้านการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ ความรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการฝึกอบรมหลักสูตร Young Smart Farmer 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมหลักสูตร Young Smart Farmer และ5) ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ให้ข้อมูลมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 31-35 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า (ปวช.) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ประสบการณ์ในอาชีพการเกษตร 5-8 ปี 2) การเรียนรู้ด้านการเกษตรจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พบว่า มีการเรียนรู้จากการศึกษาดูงานมากที่สุด 3) หลังจากการฝึกอบรม พบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและมีความรู้ในระดับมากที่สุดในทุกประเด็นส่วนการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากโดยเฉพาะการนำความรู้ไปประยุกต์ในการผลิตพืช สัตว์ ประมง 4) ด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พบว่า เกิดความภูมิใจในอาชีพเกษตรกร เกิดเพื่อนร่วมอุดมการณ์ และมีเจตคติที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ 5) สามารถสรุปแนวทางเพื่อพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ได้ดังนี้ ได้แก่ (1) ด้านหลักสูตรการอบรม ควรมีการปรับกระบวนทัศน์สร้างแรงจูงใจ เพิ่มความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต (2) ด้านการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรการผลักดันให้เกษตรกรมีการเสนอความคิดเห็น การเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านทาง Social media (3) การจัดตลาดนัดจำหน่ายสินค้าและ (4) ด้านอื่น ๆ เช่น การสนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์ ปัจจัยด้านการเกษตร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3120
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146147.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons