กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3122
ชื่อเรื่อง: การบริหารโรงสีข้าวชุมชนในตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community rice mill management in Nong Khai Nam Sub-district, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิภาพร ด้อมกลาง, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โรงสีข้าว--ไทย--นครราชสีมา--การจัดการ.
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการและสมาชิกโรงสีข้าวชุมชน 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโรงสีข้าวชุมชนของคณะกรรมการและสมาชิก 3) การบริหารโรงสีข้าวชุมชน และ4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารโรงสีข้าวชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการและสมาชิกโรงสีข้าวชุมชนมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 57.10 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สองในสามไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆ ทางสังคม ระยะเวลาเป็นสมาชิกโรงสีข้าวชุมชนเฉลี่ย 11.93 ปี เคยเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรม สัมมนา และดูงานด้านการบริหารโรงสีข้าวชุมชนี้เป็นบางครั้ง สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.48 คน สมาชิกในครัวเรือนช่วยทำการเกษตรเฉลี่ย 2.51 คน ทั้งหมดประกอบอาชีพทานา พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 17.09 ไร่ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 410,897.46 บาท ส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินและเป็นหนี้กับ ธ.ก.ส. 2) ระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการบริหารโรงสีข้าวชุมชนจากแหล่งต่าง ๆในภาพรวระดบบัน้อย โดยได้รับข้อมูลจากสื่อบุคคลมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มากกว่าครึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโรงสีข้าวชุมชนในระดับมาก 3) คณะกรรมการโรงสีข้าวชุมชนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามการบริหารโรงสีข้าวชุมชนในระดับปานกลาง 4) ปัญหาของคณะกรรมการโรงสีข้าวชุมชนต่อการปฏิบัติตามการบริหารโรงสีข้าวชุมชน พบว่า มีปัญหาในภาพรวระดบบัมาก แนวทางการพัฒนาควรส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงสีข้าวชุมชนและสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานในรูปกลุ่มให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชน ส่งเสริมให้สมาชิกมีการผลิตข้าวอินทรีย์ และรับซื้อในราคาที่สูง แล้วนามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมและผลิตภัณฑ์ของโรงสีข้าวชุมชนให้เป็นที่รู้จักของ บุคคลภายในและภายนอก และเพิ่มช่องทางการสื่อสาร พัฒนาการบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายอื่นที่ประสบผลสำเร็จและส่งเสริมสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3122
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146148.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons