กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3126
ชื่อเรื่อง: การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cassava production by farmers in Watthana Nakhon District of Sa Kaeo Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญถม คำภาค, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--ไทย--สระแก้ว--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง (3) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร (4) การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตและการส่งเสริมมันสำปะหลังของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 48.38 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 13.76 ปี มีการถือครองที่ดินในการทำการเกษตรเป็นของตนเอง จำนวนพื้นที่ถือครองที่ดินในการทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 38.37 ไร่ ขนาดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 20.06 ไร่ รายได้ของครัวเรือนในภาคการเกษตรเฉลี่ย 179,398.56 บาทต่อปี รายจ่ายของครัวเรือนในภาคการเกษตรเฉลี่ย 74,371.94 บาทต่อปี ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 3.53 ตัน/ไร่ รายได้เฉลี่ย 6,258.27 บาทต่อไร่ เกษตรกรส่วนมากไม่มตำแหน่งทางสังคม และเกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มสมาชิกลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความยุ่งยากของเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังโดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับยุ่งยากน้อย 3) เกษตรกรส่วนมากมีความรู้มากเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง และความรู้ที่เกษตรกรได้รับจากทั้ง 3 แหล่งความรู้ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกลุ่ม และสื่อมวลชน ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับน้อย 4) เกษตรกรส่วนมากปลูกมันสำปะหลังโดยใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เก็บท่อนพันธุ์เก่าใช้ เกษตรกรทั้งหมดปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ตั้งตรง การปลูก ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชและเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนและใส่ปุ๋ยเคมี และเกษตรกรส่วนมากจำหน่ายผลผลิตที่ลานรับซื้อและโรงแป้ง 5) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตและการส่งเสริมมันสำปะหลังโดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับรุนแรงปานกลาง เมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่า ปัญหาค่าสารเคมีราคาแพง ค่าจางแรงงานสูง และราคาผลผลิตต่าอยู่ในระดับรุนแรงมาก ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า ควรจัดอบรมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และรัฐบาลควรกำหนดราคารับซื้อหัวมันสด 2.50-3.00 บาทต่อกิโลกรัม และควรส่งเสริมให้เกษตรกรทำการรวมกลุ่มกันผลิตและขาย อันนำไปสู่อำนาจการต่อรองราคาขายผลผลิตกับแหล่งรับซื้อได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146150.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons