Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3130
Title: แนวทางการพัฒนาการผลิตใบยางอินเดียของเกษตรกรเพื่อตอบสนองความต้องการของร้านจำหน่ายพวงหรีดในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development guidelines in India rubber leaf production for wreath shop demand in Bangkok Metropolis
Authors: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉัตรดาว สารพา, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
พวงหรีด
ใบยางอินเดีย--การผลิต
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ใบยางอินเดียของร้านจำหน่ายพวงหรีด 2) เพื่อวัดระดับความพึงพอใจต่อใบยางอินเดียของร้านจำหน่ายพวงหรีด 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัญหาในการผลิตใบยางอินเดียของเกษตรกร 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการจัดจำหน่ายพวงหรีดกับความพึงพอใจที่มีต่อใบยางอินเดีย และ5) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการผลิตใบยางอินเดียของเกษตรกรเพิ่อตอบสนองต่อความต้องการของร้านจำหน่ายพวงหรีดในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้านจำหน่ายพวงหรีดมีการซื้อใบยางจากเกษตรกรโดยตรง เป็นส่วนใหญ่ และมีคนกลางมาส่งที่ร้าน ร้านจำหน่ายพวงหรีด จะซื้อใบยางอินเดียมากกว่า 5 ครั้งต่อเดือน ร้านจำหน่ายพวงหรีดต้องการใบขนาดกลาง ลักษณะของใบยางอินเดียที่ต้องการมากที่สุด ใบต้องสีเขียวเข้ม การเก็บรักษาใบยางอินเดีย ไม่มีอุปกรณ์ในการเก็บรักษา 2) ความพึงพอใจของร้านจำหน่ายพวงหรีดโดยรวม อยู่ในระดับค่อนข้างมาก โดยที่มีความพึงพอใจต่อความสดใหม่ของใบยางอินเดียมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการซื้อใบยางอินเดียช่องทางออนไลน์น้อยที่สุด 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัญหาในการผลิตใบยางของเกษตรกรโดยรวม อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย มีปัญหาด้านการหาลูกค้ามากที่สุด 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจร้านจำหน่ายพวงหรีดดอกไม้สด กับร้านจำหน่ายพวงหรีดแบบอื่น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของร้านจำหน่ายพวงหรีดและความพึงพอใจของร้านจำหน่ายพวงหรีดต่อใบยางอินเดีย พบว่าร้านจำหน่ายพวงหรีดดอกไม้สดอย่างเดียวและร้านจำหน่ายพวงหรีดและรับจัดดอกไม้รูปแบบอื่นมีความพอใจต่อใบยางอินเดียไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 5) ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร ต้องดูแลและผลิตใบยางอินเดียที่มีสีเขียวเข้มไม่มีตาหนิ และเก็บบ่อยครั้งเนื่องจากร้านดอกไม้สั่งซื้อทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3130
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146175.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons