Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3133
Title: | การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Knowledge management of local wisdom for rice processing by community enterprises in Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา ฤทัยรัตน์ สงฆ์สระน้อย, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ข้าว--การแปรรูป--ไทย--นครราชสีมา ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย--นครราชสีมา |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเกี่ยวกับ 1) บริบทกลุ่ม 2) องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว 3) กระบวนการจัดการความรู้ และ4) เงื่อนไขที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.14 ปี เกือบทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักเป็นเกษตรกร อาชีพเสริมคือทำเส้นหมี่โคราช รายได้จากกิจกรรมทำเส้นหมี่โคราชเฉลี่ย 2,038 บาท ประสบการณ์ในการทำหมี่โคราชเฉลี่ย 19.95 ปี 2) ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม และความรู้ใหม่ที่พัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลื่ยนไป พบการประยุกต์ภูมิปัญญาเป็น 2 ลักษณะคือการพัฒนาในเรื่องของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต และการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ 3) กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเป็นเส้นหมี่โคราชมี 6 ขั้นตอนหลักได้แก่ (1) การกำหนดความรู้จากความต้องการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ที่กำหนดเป็นความรู้ที่ต้องใช้ในการผลิตเส้นหมี่โคราช (2) การแสวงหาความรู้เพื่อจะนำมาผลิตและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทั้งจากภายในและภายนอกกลุ่มโดยเน้นที่การแสวงหาความรู้จากภายในี้เป็นหลัก (3) การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม (4) การจัดเก็บความรู้ เก็บไว้ในตัวบุคคลโดยใช้วิธีการจดจำ (5) การถ่ายทอดความรู้ เป็นการถ่ายทอดระหว่าง บุคคลสู่บุคคล ส่วนใหญ่ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานในครัวเรือนด้วยวิธีการบอกเลา และ (6) การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในลักษณะของการพัฒนารูปแบบของสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น 4) เงื่อนไขที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้มี 4 ด้าน คือ (1) วัฒนธรรมีองค์กร เป็นวัฒนธรรมแบบครอบครัว (2) ภาวะผู้นำ คือผู้นำที่มีการกระตุ้นทางปัญญา (3) โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและการประสานงานภายในกลุ่ม และ (4) เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ และกล้องถ่ายรูป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3133 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146809.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License