Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/314
Title: การทำเหมืองข้อมูลเพื่อสนับสนุนการให้บริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Other Titles: Data mining techniques to support the library service of Sisaket Rajabhat University
Authors: สำรวย กมลายุตต์
ธีรพงศ์ สงผัด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ดวงดาว วิชาดากุล
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
ดาต้าไมนิง
ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้นำเสนอการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เพื่อสนับสนุนการให้บริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ 1) การสร้างคลังข้อมูลผู้ใช้บริการห้องสมุด 2) การทำเหมืองข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และจำแนกกลุ่มผู้ใช้บริการห้องสมุด 3) การทำเหมืองข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการยืมหนังสือของผู้ใช้บริการห้องสมุด 4) การจัดทำรายงานหลายมิติจากข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ โปรแกรม SQL Server 2008 และ SQL Service Analysis กระบวนการเริ่มจากการนำข้อมูลการใช้ห้องสมุดจากฐานข้อมูลห้องสมุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 - 2556 และข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาจากฐานข้อมูลระบบทะเบียนนักศึกษามาสร้างคลังข้อมูลด้วยกระบวนการอีทีแอล (ETL) วัตถุประสงค์ของกระบวนการอีทีแอล คือ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์ จากนั้นนำข้อมูลจากคลังข้อมูลมาสร้างรายงานหลายมิติตามความต้องการผ่านกระบวนการโอแลป สำหรับการทำเหมืองข้อมูลใช้แบบจำลองคริสพ์-ดีเอ็ม (CRISP-DM Model) และเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย 3 เทคนิค ได้แก่ 1) การจัดกลุ่ม เพื่อแบ่งกลุ่มสมาชิกที่มีลักษณะการยืมหนังสือคล้ายกันออกเป็นกลุ่ม ๆ 2) กฎการหาความสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลการยืมหนังสือเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ที่น่าสนใจระหว่างหนังสือที่ถูกยืมว่า มีหนังสือเล่มใดบ้างที่มักถูกยืมไปด้วยกัน และ 3) อนุกรมเวลา เพื่อพยากรณ์ปริมาณผู้ใช้บริการสารสนเทศห้องสมุดจำแนกตามประเภทของผู้ใช้บริการ ผลการวิจัยที่ได้ คือ คลังข้อมูลผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ใช้โครงสร้างแบบสโนว์เฟลก (Snowflake schema Model) ผู้ใช้บริการที่มีคุณลักษณะคล้ายกันถูกจัดออกเป็นทั้งหมด 6 กลุ่ม การหาความสัมพันธ์ของหนังสือที่มักถูกยืมไปด้วยกัน พบว่าที่ค่าความเชื่อมั่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และค่าสนับสนุนไม่น้อยกว่า 9 ได้กฎความสัมพันธ์ทั้งหมด 20 กฎ และอนุกรมเวลาทำให้สามารถพยากรณ์ปริมาณผู้ใช้บริการสารสนเทศห้องสมุดในแต่ละกลุ่มหรือประเภทได้ การทำเหมืองข้อมูลทำให้บุคลากร ทำงานในห้องสมุดได้รับความรู้ใหม่ ซึ่งสามารถนำมาประกอบในการแนะนำหนังสือหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศของห้องสมุดตามกลุ่มของผู้ใช้ยิ่งกว่านั้นยังช่วยเพิ่มความสะดวกในการค้นคืนสารสนเทศหรือรายชื่อหนังสือที่ต้องการ ลดเวลาในการสืบค้นช่วยสนับสนุนการวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้บริการและเพิ่มปริมาณผู้ใช้ นอกจากนี้แล้วยังทำให้ผู้บริหารได้รับรายงานหลายมิติที่สามารถมองภาพรวมและเจาะลึกในรายละเอียดตามมิติที่สนใจได้
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/314
Appears in Collections:Science Tech - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_140958.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons