Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/315
Title: | รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก |
Other Titles: | A model of palliative care management for patients with advanced cancers at Wangchao Hospital in Tak Province |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา พิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา ฐิติพร จตุพรพิพัฒน์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแล |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการการจัดการ ดูแลแบบประคับประคองสําหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก (2) สร้างรูปแบบการจัดการ ดูแลแบบประคับประคอง และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการ ดูแลแบบประคับประคองที่สร้างขึ้น ประชากร และกลุ่มตัวอยาง มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก สําหรับวิเคราะห์สภาพการณ์ และความต้องการการจัดการ ดูแลแบบประคับประคอง ประกอบด้วยผู้ให้บริการในทีมสุขภาพ จํานวน 21 คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก คัดเลือกแบบเจาะจง จํานวน 14 คน ประกอบด้วย ผู้ให้บริการ จํานวน 5 คน และ ผู้รับบริการ คือผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก จํานวน 9 คน กลุ่มที่สอง สําหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จํานวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหาร และ กลุ่มผู้ปฏิบัติ จํานวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จํานวน 1 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ชุด ชุดแรก มี 2 ส่วน คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของโดนาบีเดียล และแนวคิดการดูแลแบประคับประคองขององค์การอนามัยโลก ชุดที่สองคือแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคอง เครื่องมือทั้ง 2 ชุด ผ่านตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเฉลี่ย เท่ากับ 0.97, 0.94 และ 0.91 ตามลําดับ และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบวา (1) สภาพการณ์การจัดการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยยังพบว่ามีปัญหาทั้งด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ และมีความต้องการพัฒนาทุกด้าน (2) รูปแบบสร้างขึ้นจากผลการวิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการการจัดการดูแลแบบ ประคับประคองสําหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม เป็นรูปแบบที่ใช้บ้านผู้รับบริการเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ประกอบด้วย มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีมาตรฐานการปฏิบัติ มีพยาบาลผู้ประสานงานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ และอาสาสมัครประจําหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมบ้านผู้ป่วยให้เข้มแข็ง ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย มีการจัดการดูแลแบบองค์รวม เน้นการดูแลด้านจิตสังคมเชื่อมโยงทุกระดับของบริการ สุขภาพ ด้านผลลัพธ์ประกอบด้วย ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถจัดการดูแลตนเองได้ มีความพึงพอใจในชีวิตและมีคุณภาพชีวิตดี ด้านผู้ให้บริการมีสมรรถนะในการดูแลแบบประคับประคอง และ 3) รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองที่สร้างขึ้น พบวา มีความเหมาะสมกับ การนําไปใช้กับโรงพยาบาลวังเจ้า ร้อยละ 91.96 อย่างไรก็ตาม หากโรงพยาบาลอื่นที่ต้องการนํารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ ควรสำรวจความต้องการและคาดหวังของผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ตลอดจนครอบครัว ชุมชนและความสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาล |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/315 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License