กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3178
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางเลน จำกัด จังหวัดนครปฐม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting Un-paid repayments of members of Bang Len Agricultural Cooperatives, Limited, in Nakhon Pathom Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ วรัชพล รวยพงษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--ไทย--นครปฐม การชำระหนี้ การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ 2) ภาระหนี้สินและการค้าง ชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ 3) ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ของสภาพทั่วไปของสมาชิกกับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการ ผลิต ด้านการตลาด ด้านสภาพแวดล้อมและภัยธรรมชาติ และด้านนโยบายของรัฐกับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ และ 6) ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางเลน จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระของสหกรณ์การเกษตรบางเลน จำกัด จำนวน 482 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยสูตรของทาโร ยามาเน ่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในระหว่าง 46-60 ปี การศึกษา ระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 11-15 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน จำนวนบุตรที่ต้องส่งเรียน 1-2 คน ลักษณะการถือครองที่ดินโดยการเช่า จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร 31 ไร่ขึ้นไป มูลค่า ทรัพย์สินในปัจจุบัน 100,001-500,000 บาท นำเงินที่ได้จากการกู้ยืมจากสหกรณ์มาใช้เพื่อการเกษตร มีรายได้จากภาค การเกษตร 300,000 บาทขึ้นไป/ปี และไม่มีรายได้จากนอกภาคการเกษตร มีรายจ่ายในภาคการเกษตร 300,000 บาท ขึ้นไป/ ปี มีรายจ่ายจากนอกภาคการเกษตร 200,001-300,000 บาท/ปี 2) ภาระหนี้สินและการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่มีหนี้ค้างชำระกับสหกรณ์ 50,000-100,000 บาท มีหนี้ค้างชำระอื่นนอกจากสหกรณ์ ต่ำกว่า 50,000 บาท เป็นหนี้กับสถาบันการเงินอื่นนอกจากสหกรณ์คือ กองทุนหมู่บ้าน และ ธ.ก.ส. 3) ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผล ต่อการเป็นหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ พบว่า ปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัย ด้านสภาพแวดล้อมและ ภัยธรรมชาติ และปัจจัยด้านนโยบายของรัฐ มีความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) ความสัมพันธ์ของสภาพทั่วไป ของสมาชิกกับการค้างชำระหนี้ของสมาชิก พบว่า จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร มูลค่าทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์การนำเงินกู้ยืมจากสหกรณ์ไปใช้ รายได้จากภาคการเกษตร รายได้จากนอกภาคการเกษตร รายจ่ายจากภาค การเกษตร และรายจ่ายจากนอกภาคการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์อยางมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านสภาพแวดล้อมและภัยธรรมชาติ และด้าน นโยบายของรัฐ กับการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ พบว่า การขาดแคลนเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ สินค้า อุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้น การยกเลิกนโยบายโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล มีความสัมพันธ์กับการค้างชำระหนี้ของ สมาชิกสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก คือ รัฐบาล ควรมีนโยบายในการช่วยเหลือเรื่องต้นทุนการผลิตและราคาผลผลิตทางการเกษตร สหกรณ์ควรมีการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับสมาชิก และควรมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนและต้นทุนอาชีพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3178 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
146597.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License