กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3192
ชื่อเรื่อง: | ผลสัมฤทธิ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด ในจังหวัดขอนแก่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Achievement of compulsory rehabilitation of drug addicts in KhonKaen Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จำเนียร ราชแพทยาคม วิษณุรักษ์ คล่องสั่งสอน, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นพดล อุดมวิศวกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ คนติดยาเสพติด--การฟื้นฟูสมรรถภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา เสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่น (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสำเร็จในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่นของศูนย์บำบัดยาเสพติดแบบควบคุมตัวกับแบบไม่ควบคุมตัว และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากร คือ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งสิ้น 3,500 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบ่งตามกลุ่มหรือพื้นที่ ได้จำนวนตัวอย่าง 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอย เชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่น คือ รูปแบบโปรแกรมที่ให้คำปรึกษา การดูแลใกล้ชิด การมีครอบครัวช่วยดูแลให้กำลังใจ รวมถึงการส่งเสริมการฝึกอาชีพในระหว่างการฟื้นฟูฯ (3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์พบว่า การฟื้นฟูแบบควบคุมตัวมีโอกาสกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่าแบบไม่ควบคุมตัว และ (4) แนวทางการพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่น คือ ควรนำวิธีการบำบัดที่มีความโดดเด่นมาปรับใช้ในรูปแบบของขอนแก่นโมเดล เช่น ด้านการฝึกอาชีพของศูนย์วิวัฒน์พลเมือง การให้คำปรึกษารายเดี่ยวของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โปรแกรมค่ายเชิงจิต และโปรแกรมครอบครัวของสำนักงานคุมประพฤติ เป็นต้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3192 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 36.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License