กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3193
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกของสหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด จังหวัดขอนแก่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for paddy collecting business development of Nong Wai Agricultural Cooperative Ltd, Khon Kaen Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ เรืองจิตร สุคนธเมธีรัตน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด--การจัดการ ข้าว--การตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตร หนองหวาย จำกัด 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกของสหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด วิธีการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด จำนวน 366 คน โดยใช้ วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด มีพื้นที่ดำเนินการ 2 แห่ง อยู่ที่เขตพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของ สมาชิก ในด้านธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกสหกรณ์มีการกำหนดนโยบายแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการของสหกรณ์ แล้วมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการรับซื้อขายข้าวเปลือก และรองผู้จัดการฝ่ายการตลาดดำเนินการรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไป เพื่อขายต่อ ให้พอค้า และเก็บไว้แปรรูปเป็นข้าวสารถุง 2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์ ได้แก่ ด้าน เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เครื่องมือและอุปกรณ์มีไม่เพียงพอในการให้บริการ รวมทั้งด้านการวางแผนการบริหารจัดการ 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกของสหกรณ์ จากการศึกษาพบว่า สหกรณ์ควรลดขั้นตอนในการ ปฏิบัติงานเพื่อให้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ พัฒนาระบบการบริหารงานให้ทันกับสภาวะท้องตลาดและพ่อค้า เอกชน สร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกศรัทธาในสหกรณ์ นอกจากนี้สหกรณ์ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความ ชำนาญ และทักษะในการทำงานอย่างต่อเนื่อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3193 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
129117.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License