Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3195
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่นth_TH
dc.contributor.authorเรืองยศ กนกกวินวงศ์th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-14T04:00:11Z-
dc.date.available2023-02-14T04:00:11Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3195en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด 2) ศึกษาความคาดหวังของสมาชิกที่มีต่อการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ ธานีจำกัด และ 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกกับความคาดหวังที่มีต่อการให้บริการของ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานีจำกัด วิธีการศึกษา ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด เฉพาะ สมาชิกสามัญ จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-Test ( ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของสมาชิก ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด สมาชิกเพศหญิงร้อยละ 68.4 เพศชาย ร้อยละ 31.6 อายุระหว่าง 31-40 ปีร้อยละ 40.10 และอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 31.3 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 61.8 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 36.3 และระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 1-5 ปีร้อยละ 34.5 2) ความคาดหวังของสมาชิกที่มีต่อการให้บริการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด โดยรวมทั้ง 5 ด้านมีความคาดหวังในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพการให้บริการ (ฝ่ายจัดการ) มีความคาดหวังสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.07) รองลงมาคือด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารและเครื่องใช้สำนักงาน (ค่าเฉลี่ย 3.98) ด้านการให้บริการทางธุรกิจ (ค่าเฉลี่ย 3.94) ด้านการรับข้อมูลข่าวสาร จากสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 3.91) และด้านสวัสดิการสมาชิก (ค่าเฉลี่ย 3.79) ตามลำดับ 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วน บุคคลของสมาชิกกับความคาดหวังที่มีต่อการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัด พบว่า สมาชิกเพศชายและเพศหญิงมีความคาดหวังด้านคุณภาพการให้บริการ (ฝ่ายจัดการ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ช่วงอายุของสมาชิกที่ต่างกัน มีความคาดหวังด้านการให้บริการทาง ธุรกิจสินเชื่อและ ด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารและเครื่องใช้สำนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ระดับการศึกษาของสมาชิกที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังด้านคุณภาพการ ให้บริการ (ฝ่ายจัดการ) ด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารและเครื่องใช้สำนักงาน ด้านการรับข้อมูลข่าวสารจาก สหกรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน รายได้ของสมาชิกที่ ต่างกัน มีความคาดหวังด้านคุณภาพการให้บริการ (ฝ่ายจัดการ) ด้านการให้บริการทางธุรกิจสินเชื่อ ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารและเครื่องใช้สำนักงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่าง กัน และระยะเวลาการเป็นสมาชิกของสมาชิกที่ต่างกัน มีความคาดหวังด้านต่างๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ทุกด้าน ยกเว้นด้านการรับข้อมูลข่าวสารจากสหกรณ์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.subjectความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleความคาดหวังของสมาชิกที่มีต่อการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี จำกัดth_TH
dc.title.alternativeStudy of members' expectations toward the Suratthani Public Health Savings & Credit Cooperative, Ltd's servicesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were 1) to study general state of members of Suratthani Public Health Savings & Credit Cooperatives Ltd. 2) to study the members’ expectations toward the services of the cooperatives; 3) to study the correlation between personal characteristics of the members and their expectations toward the services of the cooperatives. The population in this study were all 377 ordinary members of Suratthani Public Health Savings & Credit Cooperatives Ltd. The data collecting process was answering the questionnaires in 5 levels of estimation measurement. The statistical methodology used to analyze the data by computer programs were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-Test (ANOVA), and content analysis. The findings of this study were as follows: 1) 68.4% of the studied members were female, while 31.6% of them were male. 40.10% of them were between 31-40 years old, while 31.3% of them were between 41-50 years old. 61.8% of them were educated at bachelor degree. 36.3% of them had average income between 10,001-20,000 Baht/month. And the period of being a member of the cooperatives of 34.5% of them was between 1-5 years. 2) Considering their expectations toward the services of the cooperatives, it was found that their expectations were generally at much level in all 5 aspects - in the aspect of servicing quality (management section) which were at highest level (average at 4.07), and in other aspects which were at lower level, these were their expectations in the aspect of buildings, materials, documents, and office equipment (average at 3.98); in the aspect of credit business services (average at 3.94); in the aspect of receiving information from the cooperatives (average at 3.91); and in the aspect of welfare management for members (average at 3.79) respectively. 3) considering the correlation between personal characteristics of the members and their expectations toward the services of the cooperatives, it was found that the expectations in the aspect of servicing quality (management section) of male members were different from the expectations of female members at 0.05 statistical significance, while their expectations in other aspects were not different; it was found that the members in different period of age had different expectations in the aspect of credit business services, buildings, materials, documents, and office equipment at 0.05 statistical significance, while the expectations in other aspects were not different; it was found that the members in different level of education had different expectations in the aspect of servicing quality (management section), buildings, materials, documents, office equipment, and receiving information from the cooperatives at 0.05 statistical significance, while the expectations in other aspects were not different; it was found that members who had different quantity of their income had different expectations in the aspect of servicing quality (management section), credit business services, buildings, materials, documents, and office equipment at 0.05 statistical significance, while the expectations in other aspects were not different; and it was found that the members who had different period of being a member of the cooperatives had different expectations at 0.05 statistical significance in all aspects, except in the aspect of receiving information from the cooperatives.en_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142617.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons