กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3211
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of inquiry learning management together with two brain hemispheres development activities in the topic of Water Resources and Weather on analytical thinking ability and scientific problem solving ability of Prathom Suksa V students at Thai Mueang 3 Educational Quality Development Network Schools in Phang-nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินต์ วิศวธีรานนท์
สุนิสา จูฑามาตย์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ความสามารถทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--พังงา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงาระหว่างก่อนและหลังเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา ระหว่างก่อนและหลังเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านพอแดงซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา จำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3211
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons