กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3289
ชื่อเรื่อง: | แนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของหมอลำกลอนอีสาน : ศึกษากรณีหมอลำ ทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทา) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political, economical and social concepts in Mohlamklorn Isahn : a case study Mohlam Thongmark Jantalue (Mohlam Thutha) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธโสธร ตู้ทองคำ สาขาวิชารัฐศาสตร์ บุญเพ็ง โวท, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | หมอลำ--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง ไทย--การเมืองและการปกครอง ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการเพื่อคึกษา (1) ความเป็นมา สาเหตุและปัจจัยทำให้นายทองมาก จันทะลือ ใช้กลอนลำเป็นสื่อไปสู่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) เนื้อหาสาระของกลอนลำที่สะท้อนถึงแนวคิดทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม ของนายทองมาก จันทะลือ (3) ผลกระทบจากการแต่งกลอนลำที่สะท้อนถึงแนวคิดทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม ของนายทองมาก จันทะลือ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเป็นมา สาเหตุมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทำให้นายทองมาก จันทะลือ ใช้กลอนลำเป็นสื่อ กล่าวคือปัจจัยภายในมาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่ นายทองมาก ได้ประสบมากับตนเองได้รับความยากลำบากในการคำเนินชีวิต ส่วนปัจจัยภายนอกมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม (2) เนื้อหาสาระของกลอนลำได้สะท้อนถึงทั้งด้านการมือง เศรษฐกิจ และสังคม กล่าวคือสะท้อนให้เห็นภาพการเมืองการปกครองช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองแก่ประชาชนในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กลอนลำได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจอีสานช่วงก่อนและหลังการพัฒนาประเทศ และสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ของคนในสังคมในอดีตช่วงก่อนการพัฒนาประเทศกับสังคมปัจจุบัน (3) ผลกระทบจากการแต่งกลอนลำทั้งตอนายทองมาก จันทะลือ และต่อสังคมโดยรวม กล่าวคือทำให้นำยทองมากมีชื่อเสียงดังได้รับรางวัลขนะเลิศในการประกวดหมอลำกลอนหลายครั้งและรางวัลเกียรติยศหลายรางวัล ได้รับการลัดเลือกจากพี่น้องจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระหว่าง พ.ศ. 2512 -2514 และได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชไตสาขาการแสดง (หมอลำ) พ.ศ.2529 นอกจากนื้ส่วนรวมยังได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากเช่นการรณรงค์อีสานไม่กินปลาดิบการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ และการรณรงค์คนไทยควรรู้หนังสือเป็นด้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3289 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
112610.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License