Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนิชวรรณ นิลสุข, 2536--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-16T02:55:57Z-
dc.date.available2023-02-16T02:55:57Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3292-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (2) เปรียบเทียบความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร วิธีการดำเนินวิจัย จําแนกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร จำนวน 128 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยเชฟเฟ่ สำหรับระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร เป็นการนำผลวิจัยระยะที่ 1 มาบูรณาการกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสร้างเป็นร่างแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครู เพื่อเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน พิจารณาให้ความเห็นชอบ เครื่องมือการวิจัย คือ ร่างแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงไป คือ ด้านการควบคุมกำกับและการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายและมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล ด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร ด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ด้านผู้นําดิจิทัล และด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านดิจิทัลของของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร พบว่า ด้านอายุและด้านประสบการณ์ในการทํางาน โดยภาพรวมแตกต่างกันทีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางสำคัญในการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร ได้แก่ การอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครู การเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การดิจิทัล การส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการจัดทำซอฟต์แวร์เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของโรงเรียนให้ทันสมัย การจัดเวทีเสวนาด้านดิจิทัล และการเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านดิจิทัลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectครู--ไทย--ชุมพร--เทคโนโลยี.th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพรth_TH
dc.title.alternativeDigital capability of teachers in Chumphon Province under the Secondary Educational Service Area Office Surat Thani Chumphonth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) study the digital capabilities of teachers in Chumphon province under the secondary educational service area office Surat Thani Churnphon: 2) compare the digital capabilities of teachers in Chumphon province as classified by age. work experience, and school size; and 3) study guidelines for developing the digital capability of teachers in Churnphon province. The research process comprised two phases: Phase 1 was a study of the digital capabilities of teachers in Churnphon province. The research sample consisted of 128 teachers in Churnphon province. The research instrument was a questionnaire on digital capabilities of teachers in Chumphon province with reliability coefficient of .97. Statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA. and Scheffe’s Method. Phase 2 was a study of guidelines for developing digital capabilities of teachers in Churnphon province, hr this phase carried out by integrating the results of phase 1 research with the principles, concepts, theories and related research to create a draft of the guidelines for developing the digital capability of teachers. After that, the draft was submitted to 8 experts for consideration and approval. The research instrument was the draft of the guidelines for developing the digital capability of teachers. Data were analyzed with content analysis. The research results showed that 1) the overall of digital capabilities of teachers in Churnphon province were at the high level, when considering in each aspect, it can be sorted in descending order as follows: the digital governance, the digital standard and compliance, the digital literacy, the digital technology, the digital transformation, the digital process and service design, the digital leadership, and the strategic and project management: 2) the comparison of the digital capabilities of teachers in Chumphon province was different in age and work experience at the .05 level of statistical significance, but the comparison as classified by school size was not different: and 3) the guidelines for developing digital capabilities of teachers in Churnphon were as follows: training on digital technology skills for teachers, provide oppomrnities for teachers to participate in building a fr amework to develop schools into digital organizations, encouraging teachers to contribute software to modernize school digital operations, symposium and open a channel to hear teachers’ opinions and suggestions on digital managementen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons