กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3292
ชื่อเรื่อง: ความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Digital capability of teachers in Chumphon Province under the Secondary Educational Service Area Office Surat Thani Chumphon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิชวรรณ นิลสุข, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--ไทย--ชุมพร--เทคโนโลยี.
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (2) เปรียบเทียบความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร วิธีการดำเนินวิจัย จําแนกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร จำนวน 128 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยเชฟเฟ่ สำหรับระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร เป็นการนำผลวิจัยระยะที่ 1 มาบูรณาการกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสร้างเป็นร่างแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครู เพื่อเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน พิจารณาให้ความเห็นชอบ เครื่องมือการวิจัย คือ ร่างแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงไป คือ ด้านการควบคุมกำกับและการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายและมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล ด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร ด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ด้านผู้นําดิจิทัล และด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านดิจิทัลของของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร พบว่า ด้านอายุและด้านประสบการณ์ในการทํางาน โดยภาพรวมแตกต่างกันทีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางสำคัญในการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร ได้แก่ การอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครู การเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การดิจิทัล การส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการจัดทำซอฟต์แวร์เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของโรงเรียนให้ทันสมัย การจัดเวทีเสวนาด้านดิจิทัล และการเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านดิจิทัล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3292
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons