Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3306
Title: การอุทธรณ์และการเยียวยาคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหาร
Other Titles: Appeals and remedies related to Royal Thai Army's disciplinary punishment
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
พัฒนายุทธ บริหาร, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายทหาร
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิดที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหาร และการเยียวยาให้กับข้าราชการทหารที่ได้รับคำสั่งลงทัณฑ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) ศึกษาการอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหาร และการเยียวยาจากค่าสั่งลงทัณฑ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศไทย ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และสหพันธ์สาธารณรัฐอเมริกา (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการเยียวยาจากคําสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศไทย (4) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหาร และการเยียวยาให้กับข้าราชการทหารซึ่งถูกลงทัณฑ์ทางวินัยทหารโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องจากบทความ วิทยานิพนธ์ ตำราทางนิติศาสตร์ บทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ นำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และหาข้อสรุปเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศึกษา พบว่า (1) การอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหาร ผู้ต้องทัณฑ์สามารถอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ได้ เมื่อเห็นว่า การพิจารณาทางปกครอง และการออกคําสั่งทางปกครอง ไม่เป็นการยุติธรรม หรือเป็นการลงทัณฑ์ที่เกินกว่าเหตุ และผู้เสียหายสามารถยื่นคําร้องต่อหน่วยงานรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ (2) การอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหารในประเทศนั้น ไม่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 จึงต้องนําพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และกฎหมายอื่นมาบังคับใช้ เมื่อเปรียบเทียบกับราชอาณาจักรเดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา พบว่า กฎหมายมีการกําหนดให้มีการพิจารณา หรือกลั่นกรอง โดยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายวินัยทหาร (3) ปัญหาที่พบ ได้แก่ 1) การไม่มีบทบัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ในพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 2) การพิจารณาการอุทธรณ์ กฎหมายไม่ได้กำหนดให้มีการพิจารณา หรือกลั่นกรองโดยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 3) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ไม่ได้บัญญัติเรื่องการเยียวยาผู้ได้รับคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ (4) ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ควรแก้ไขให้มีการบัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ และการเยียวยาคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหารเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ควรกำหนดให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายวินัยทหารเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ และสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และควรกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกกฎเกณฑ์การชดใช้ค่าเสียหายทางการเงินหรือการชดใช้ในรูปแบบอื่น รวมไปถึงการอนุญาตให้หยุดงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3306
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม55.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons