Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3314
Title: | การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำทหาร |
Other Titles: | Protection of Prisoners' rights in military prison |
Authors: | ธีรเดช มโนลีหกุล มนัส โหย่งไทย, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี นักโทษ--สิทธิของพลเมือง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำทหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษและการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังในเรือนจำทหาร (2) ศึกษาปัญหาของมาตรการในการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังทหารในการลงโทษทางวินัยทหารของเรือนจำทหารในประเทศไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังทหารในการลงโทษทางวินัยทหารของเรือนจำทหารในประเทศไทย ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา และ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังทหารในการลงโทษทางวินัยทหารของประเทศไทย ให้มีมาตรฐานตามหลักการสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางเอกสารจากตำรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจำทหาร การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังในเรือนจําทหาร และการลงโทษทางวินัยทหารในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า เรือนจําทหารเป็นสถานที่ควบคุมผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องขังตามคำพิพากษาของศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายทหาร แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พ.ศ. 2479 โดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ (1) การพิจารณาลงโทษไม่เป็นไปตามหลักการสากล โดยผู้บังคับบัญชาทางทหาร ไม่พิจารณาถึงมาตรการในการลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยให้อำนาจกับเจ้าพนักงานเรือนจำทหารหรือผู้มีอำนาจสั่งลงโทษสามารถลงโทษทางวินัยกับผู้ต้องขังได้ด้วยตนเอง ซึ่งใช้การลงโทษที่รุนแรง เพื่อให้ผู้ได้รับโทษเกิดความเข็ดหลาบและเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ต้องขังคนอื่น ทั้งนี้ ตามหลักการสากลแล้ว ควรกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลทหารในการพิจารณาสั่งลงโทษ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ต้องขังทหาร (2) มีการให้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาลงโทษมากเกินไป หากองค์กรทหารให้อำนาจผู้บังคับบัญชาในการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงต่อทหารชั้นผู้น้อยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ (3) ผลการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายในต่างประเทศ พบว่าการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยทหาร ในต่างประเทศยังคงได้รับการคุ้มครองสิทธิในการยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง อีกทั้งผู้ถูกลงโทษยังมีสิทธิในการปฏิเสธการลงโทษจากผู้บังคับบัญชาและร้องขอให้ศาลทหารพิจารณาการลงโทษแทนการลงโทษของผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้จากการศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พ.ศ. 2479 และพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายทหารในปัจจุบันนั้นต้องให้การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังทหาร โดยให้มีสิทธิเช่นเดียวกับสิทธิของผู้ต้องขังที่เป็นพลเรือน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3314 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License