Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกล้า ทองขาวth_TH
dc.contributor.authorพาชื่น โกมุติกานนท์, 2503-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-16T04:12:37Z-
dc.date.available2023-02-16T04:12:37Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3321en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษา ตามหลักสูตรโรงเรียนโรงงาน : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/ครู ผู้สอน ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษา ตามหลักสูตร โรงเรียนโรงงาน : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการสอน ด้านพฤติกรรมผู้เรียน ระหว่างผู้บริหาร/ครูผู้สอน ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการศึกษา ตามหลักสูตรโรงเรียนโรงงาน : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ระหว่างผู้บริหาร/ครูผู้สอนและผู้สำเร็จการศึกษา และ (4) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตรโรงเรียน โรงงาน: ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหาร/ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ผู้บริหารและครูผู้สอนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 คน และ 159 คน ตามลำดับ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าและแบบคำถามปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และทดสอบความแตกต่างของคะแนนรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Sheffe's method) ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตรโรงเรียนโรงงาน : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ด้านหลักสูตร ด้านพฤติกรรมผู้เรียน และด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษา อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ส่วนด้านการจัดกิจกรรมการสอนอยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตร โรงเรียนโรงงาน : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการสอน และด้านพฤติกรรม ผู้เรียน ระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษา แตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษา : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยอง ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ระหว่างผู้บริหาร/ครูผู้สอน และผู้สำเร็จการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษา ตามหลักสูตรโรงเรียนโรงงาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษา คือ ผู้สำเร็จการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ไม่มีงานทำ ผู้เรียน ขาดความตั้งใจ อุปกรณ์การเรียนการสอน ไม่เพียงพอ หลักสูตรไม่ทันสมัย และไม่ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และเน้นทฤษฎีมากเกินไป และยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงเรียนอาชีวศึกษา--ไทย--ระยองth_TH
dc.subjectโรงเรียนอาชีวศึกษา--การบริหาร--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพ--หลักสูตรth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleประสิทธิผลของการจัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตรโรงเรียนโรงงาน : ศึกษากรณีโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeEffectiveness of vocational school management with factory school curriculum : a case of TPI Institution of Technology in Rayong provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorประยงค์ เนาวบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
full_text82616.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons