Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3333
Title: พฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรทับคล้อ จำกัด จังหวัดพิจิตร
Other Titles: Purchasing behavior of agricultural inputs of members of Thapkhlo agricultural cooperative limited, Phichit Province
Authors: สุจิตรา รอดสมบุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรินภา ไชยภา, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรทับคล้อ--สมาชิก
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรทับคล้อ จำกัด จังหวัดพิจิตร 2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่เกี่ยวข้องกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 3) พฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และข้อเสนอแนะในการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรทับคล้อ จํากัด ที่ซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกับสหกรณ์ ปี 2563 จำนวน 453 ราย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 213 ราย ได้จากการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 และการวิเคราะห์เนื้อหาจํานวนมาก ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรทับคล้อ จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 50 ปี ขึ้นไป การศึกษาประถมศึกษาหรือค่ากว่าสถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ต่ำกว่า 5 ปีรายได้ภาคการเกษตร 5,000-10,000 บาท/เดือน รายได้อื่น ๆ 5,000-10,000 บาท/เดือน รายจ่ายภาคการเกษตร 1,000-5,000 บาท/เดือน รายจ่ายอื่น ๆ 1,000-5,000 บาท/เดือน หนี้สินทั้งหมดมากกว่า 50,000 บาท เนื้อที่ทำการเกษตร 10-30 ไร่ 2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า ด้านราคา ด้านบุคคล และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านลักษณะทางกายภาพอยู่ในระดับมาก 3) พฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พบว่า ส่วนใหญ่ซื้อปุ๋ย จำนวนเงิน 1,000-5,000 บาท/ครั้ง ซื้อ 1-2 ครั้ง/ปี ซื้อเพราะได้รับเงินเฉลี่ยคืน 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพฤติกรรมการซื้อพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรสจำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาการเป็นสมาชิก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ รายได้ภาคการเกษตร รายได้อื่น ๆ รายจ่ายภาคการเกษตร รายจ่ายอื่น ๆ หนี้สินทั้งหมด และพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดและปัจจัยส่วนประสมการตลาดในทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 5) ข้อเสนอแนะคือสหกรณ์ควรจัดทำฐานข้อมูลการซื้อปัจจัยการผลิตของสมาชิก และการจัดรถบริการขนส่งสินค้ากรณีซื้อสินค้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3333
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons