กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3338
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการใช้สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวภาคประชาชนระหว่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 : กรณีศึกษาโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison of rights and liberties on people's Movement between the Thai constitution of 1997 and 2017 : a case study of the Pak Barthe deep sea port project in Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี
ศิร์ปัณณ์ ศรประดิษฐ์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา
ประวัติรัฐธรรมนูญ--ไทย--สตูล
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนต่อการสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จังหวัดสตูล ภายใต้การใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนต่อการสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จังหวัดสตูล ภายใต้การใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาของสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนต่อการสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จังหวัดสตูล ภายใต้การใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาบทบาทของสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนต่อการสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จังหวัดสตูล ภายใต้การใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผ่านทาง บทบาท ปัญญาและอุปสรรค รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหา ระหว่างสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนต่อการสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จังหวัดสตูล ที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวภาคประชาชนเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ตำรา การลงพื้นที่สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทหน้าที่ส่วนใหญ่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ให้ความสำคัญของบทบาทเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ คือ การมุ่งเน้นการให้ความสำคัญของการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ไม่ได้มีเป้าหมายด้านอื่นแอบแฝง หรือเป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์ เมื่อการเคลื่อนไหวเรียกร้องได้อยู่บนพื้นฐานความถูกต้องหรือแนวทางที่ถูกต้องบนแนวความคิด (2) ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 การมีส่วนร่วมภาคประชาชน เกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพ ซึ่งถูกลดทอนลง เพราะมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการแสดงความคิดเห็น หรือ สิทธิที่จะเรียกร้องในรูปแบบการจัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง ล้วนแล้วแต่ต้องพึงกระทำโดยมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นตัวกำหนด ซึ่งมีความแตกต่างทางสิทธิเสรีภาพ เพราะได้จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างเห็นได้ชัดเจน และ (3) แนวทางแก้ไขปัญหาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นกลไกสำคัญที่สามารถชี้วัดต่อความเป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี จึงควรมีความรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่ในรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพของการเมืองภาคประชาชนลดน้อยลง การแสดงความคิดเห็นในรูปแบบประชาชนล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3338
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons